Page 54 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 54

44



               4.2 ข้อเสนอแนะ
                    1) การปรับปรุงแผนที่การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย

               ให้ถูกต้องหรือตรงกับเหตุการณ์ปัจจุบันมากที่สุด ต้องอาศัยข้อมูลที่มีความมีความละเอียด ค่าความแม่นยำสูง
               เพื่อให้ได้ผลที่ไม่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ซึ่งปัจจุบันค่าที่ใช้ในการประเมินค่าการสูญเสียดิน
               ที่กรมพัฒนาที่ดินทำการวิจัยและใช้มาเป็นเวลานาน (ค่าปัจจัยทางดิน) อาจส่งผลให้คลาดเคลื่อน ซึ่งปัจจุบัน
               การใช้ที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจส่งผลต่อค่าปัจจัยดังกล่าว เช่นเดียวกับค่าปัจจัยการชะล้าง

               พังทลายของฝน จากกรมอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนอาจยังมีไม่ทั่วถึง ทำให้ค่าการ
               กระจายฝนที่ได้จากการคำนวณมีความคลาดเคลื่อน ทั้งนี้การตรวจสอบข้อมูลภาคสนามถือว่ามีความสำคัญ
               เนื่องจากเป็นการตรวจสอบจากพื้นที่จริง สามารถนำข้อมูลที่ได้มายืนยันหรือปรับแก้แผนที่ให้ตรงตามสภาพ
               ความเป็นจริงมากที่สุด

                    2) แผนที่การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย เป็นฐานข้อมูลที่
               มีความสำคัญที่ใช้ในการวางแผนการใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชในพื้นที่ทำการเกษตรที่มีความลาดเทแตกต่างกัน
               ทั้งนี้ ต้องมีการแนะแนววิธีการจัดการพื้นที่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการติดตามและตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิด
               การชะล้างพังทลายของดิน เพื่อช่วยป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการชะล้างพังทลายของดิน

                    3) บางพื้นที่มีการทำการเกษตรอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลายที่รุนแรง แต่เกษตรกร
               จำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าว เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของครัวเรือน กล่าวคือ เกษตรกรมีที่ทำ
               กินน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภค ดังนั้นหน่วยงานของรัฐควรมีการส่งเสริม อบรม ให้ความรู้ด้านการจัดการการใช้

               ประโยชน์ที่ดินเทคนิคการเพิ่มผลผลิต เช่น การปลูกพืชแซมร่วมกับพืชเศรษฐกิจหลัก รวมไปถึงวิธีการจัดการพื้นที่
               ให้ลดหรือป้องกันไม่ให้สูญเสียดิน เช่น การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

               4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ
                    การปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดินให้เป็นปัจจุบันและมีความถูกต้องแม่นยำ ย่อมส่งผลดี
               ต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                    1) ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางนโยบายและแผนงานโครงการด้านการพัฒนาที่ดินให้เกิดความมั่นคง
               ทางด้านอาหาร เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม
                    2) ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์สถานภาพของดินเพื่อการปลูกพืช เป็นการลดต้นทุนและเกษตรกร
               สามารถใช้ที่ดินเพื่อการปลูกพืชได้อย่างยั่งยืน

                    3) เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร และบุคคลที่มีความสนใจสามารถ
               ใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อลดปัญหาการชะล้างพังทลายของดินในอนาคต
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59