Page 53 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 53

บทที่ 4
                                                     สรุปผลการศึกษา

               4.1 สรุป

                    ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion) ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ
               ในพื้นที่สูงและพื้นที่ทำการเกษตร ทั้งจากสภาพตามธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นปัจจัยเร่ง
               ให้เกิด เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ ประกอบกับ
               การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน

               ระบบฐานข้อมูลและแผนที่ที่มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบัน จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำข้อมูลไปใช้
               ประโยชน์ได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน
               ในประเทศไทย โดยนำเสนอในรูปแบบรายงานและแผนที่ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ สามารถ
               ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง ปัจจุบันฐานข้อมูลที่ใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินได้มีการปรับปรุง

               ให้มีความละเอียดและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ประกอบกับการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด
               จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแผนที่การชะล้างพังทลายของดินให้เป็นปัจจุบัน ปีงบประมาณ 2566
               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน โดยกลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร ดำเนินการศึกษา

               วิเคราะห์เพื่อประเมินพื้นที่เกิดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
                                                                                                        ั
               ในเขตภาคใต้ เนื้อที่ 44,196,993 ไร่ ครอบคลุม 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวด
               นครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดระนอง จังหวัด
               พังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
               วิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่การเกษตร โดยใช้วิธีการศึกษาและคำนวณ

               ปริมาณการสูญเสียดินจากสมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) แล้วทำการ
               จัดชั้นความรุนแรงของการสูญเสียดิน 5 ระดับ
                    จากการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่ภาคใต้มีเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด

               25,213,197 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57.05 ของเนื้อที่ทั้งภาค พื้นที่ส่วนใหญ่มีระดับชั้นการสูญเสียดินอยู่ใน
               ระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 57.22 ของพื้นที่การสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตรภาคใต้
               ทั้งหมด รองลงมาคือระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 23.51  ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อ
               ไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 13.10  ระดับรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 4.81 และ

               ระดับรุนแรงมาก (15 - 20 ตันต่อไร่ต่อปี) คิดเป็นร้อยละ 1.36 ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการ
               สูญเสียดินมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน จำนวน 5,029,784
               ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.95 ของเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตรภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัด
               นครศรีธรรมราช 4,077,129 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.17 และ จังหวัดสงขลา 3,252,250 ไร่ (ร้อยละ 12.90)

               ตามลำดับ
                    ทำการเปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่เสี่ยงตอการสูญเสียดินกับเนื้อที่จังหวัด พบวาจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการ
                                                   ่
                                                                                  ่
               สูญเสียดินสูงมากว่าร้อยละ 60 ของเนื้อที่ทั้งจังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง
               จังหวัดกระบี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ ด้วยลักษณะภูมิประเทศของภาคใต  ้

               มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ถูกขนาบด้วยทะเล
               ทั้งสองฝั่ง มีภูเขาสูงสลับกับภูเขาเตี้ยเป็นแกนกลาง ประกอบกับปริมาณน้ำฝนทีมากกว่าภาคอื่น ๆ พื้นที่
               ที่มีความลาดชันสูงระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินย่อมรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวอาจได้รับ
               ผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรงสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ของประเทศไทย
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58