Page 50 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 50

41



               3.7 แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่การชะล้างพังทลายของดิน
                    เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ควรมีการบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่แบบบูรณาการให้ครอบคลุม

               ทุกมิติ เช่น กายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม โดยกำหนดทิศทางจากสภาพปัญหา วิเคราะห์สภาพปัญหา
               และร่วมหาแนวทางในการจัดการ โดยกรมพัฒนาที่ดินร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน
               การอนุรักษ์ดินและน้ำ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน (อภิชัย, 2565) การวิเคราะห์สภาพพื้นที่
               จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและมีความถูกต้องสูง ได้แก่ ข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ข้อมูลด้าน

               ทรัพยากรดิน ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน ระดับการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน ข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ สภาพภูมิประเทศ
               รวมไปถึงข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม นำไปประกอบการวิเคราะห์และจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกัน
               การชะล้างพังทลายของดินและฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมที่เกิดการชะล้างพงทลายของดิน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผล
               อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เกษตรกร หน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานในจังหวัด ได้เกิดการตระหนัก

               รู้ไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้อง พร้อมทั้งสามารถประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นได้ทัน เพื่อลด
               ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

                                                                          ิ
               3.8 มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่การชะล้างพังทลายของดนอย่างมีประสิทธิภาพ
                    กรมพัฒนาที่ดิน มีภารกิจสำคัญเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาทรัพยากรที่ดิน โดยการพัฒนาที่ดินและอนุรักษ์ดิน

               และน้ำ ซึ่งการอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil and Water Conservation) หมายถึง การใช้ทรัพยากรดินและน้ำ
               อย่างเหมาะสม ด้วยวิธีที่ชาญฉลาด คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และมีความยั่งยืน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2544)
               การอนุรักษ์ดินและน้ำเป็นมาตรการในการป้องกันการกร่อนดิน ลดแรงกัดชะของตัวการกร่อนดิน ลดความสามารถ
               ในการเคลื่อนย้ายตะกอนดิน เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มสมรรถนะทางอุทกวิทยาของดิน เป็น
               การระวังรักษาและป้องกันดินมิให้ถูกชะล้างและพัดพาไป ตลอดจนการปรับปรุงบำรุงดิน ให้คงความอุดมสมบูรณ์

               รวมทั้งการรักษาน้ำในดินและบนผิวดินให้คงอยู่เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติให้เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
               เพื่อเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ มาตรการวิธีกล
               (Mechanical measures) และมาตรการวิธีพืช (Vegetative measures) ดังนี้

                    3.8.1 มาตรการวิธีกล เป็นวิธีการที่ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ปรับสภาพของพื้นที่เพื่อลดความยาวและความลาดเท
               ของพื้นที่ โดยสร้างสิ่งกีดขวางความลาดเทของพื้นที่และทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อช่วยควบคุมน้ำไหลบ่าหน้า
               ดิน ชะลอความเร็วหรือลดปริมาณของน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินวิธีการนี้นับว่าเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำ
               ที่ค่อนข้างถาวรมีประสิทธิภาพสูง ลงทุนค่อนข้างสูง รวมทั้งต้องใช้เทคนิค ความรู้ แรงงาน เครื่องมือ

               ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
                    3.8.2 มาตรการวิธีพืช เป็นวิธีการป้องกันการชะล้างพังทลายของดินโดยการปลูกพืช เป็นการเพิ่ม
               ความแน่นของพืช การคลุมดินป้องกันเม็ดฝนกระทบผิวดิน ตลอดจนการปรับปรุงบำรุงดินที่เป็นการลงทุนต่ำ
               และเกษตรกรสามารถปฏิบัติเองได้ เช่น การใช้พืชตระกูลถั่ว หญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือหญ้าธรรมชาติ ปลูกเป็นแถบขวาง

               ความลาดเทของพื้นที่หรือปลูกคุมดินหรือการใช้ระบบการปลูกพืชแบบผสมผสาน เพื่อลดความแรงของเม็ดฝน
               ดักตะกอนดิน และชะลอความเร็วของน้ำ
                    การทำเกษตรกรรมในประเทศไทยมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะปัจจัยความลาดเทของพื้นที่
               ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาการกร่อนดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เกษตรที่มีความลาดเทแตกต่างกัน

               มีข้อพิจารณาที่แตกต่างกัน พิทยากร (2557) ได้กำหนดมาตรการวิธีกลและมาตรการวิธีพืชที่เหมาะสม
               ตามความลาดเทไว้ 6 ระดับ ดังนี้
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55