Page 51 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 51

42



                    1) พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0 - 2 เปอร์เซ็นต์ สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้าง
               ราบเรียบดินส่วนใหญ่เป็นดินที่ลุ่ม มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน การระบายน้ำของดินเลวถึงเลวมาก มาตรการอนุรักษ์ดิน

               และน้ำที่ใช้คือการไถพรวนดินและปลูกพืชตามแนวระดับ การปรับรูปแปลงนา การจัดการน้ำร่วมกับการปรับปรุง
               บำรุงดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                    2) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย ควรมี
               มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อป้องกันน้ำไหลบ่าและเก็บกักตะกอนดิน การไถพรวนตามแนวระดับ ไม่ควร

               ไถพรวนมากเกินความจำเป็น การทำคันดินร่วมกับการปลูกพืชคลุมดินบนคันดิน คันดินเบนน้ำ คันดินเก็บกักน้ำ
               คันดินฐานกว้าง คันดินฐานแคบ การปลูกพืชคลุมดินบนคันดินและทางลำเลียงในไร่นา
                    3) พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 5 - 12 เปอร์เซ็นต์ ในพื้นที่ลอนลาดซึ่งมีความลาดเทเพิ่มขึ้น
               จำเป็นต้องมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เข้มข้น เช่น ขั้นบันไดดินทำคันดินร่วมกับการปลูกพืชคลุมดิน คันดิน

               เบนน้ำ คันดินฐานกว้าง คันดินฐานแคบ คันคูรับน้ำรอบเขา การยกร่องตามแนวระดับ การทำร่องน้ำตามแนว
               ระดับ ทางระบายน้ำ คันชะลอความเร็วของน้ำ บ่อดักตะกอน ท่อลอดใต้ถนน ท่อระบายน้ำ ทางลำเลียงในไร่นา
                    4) พื้นที่เนินเขา มีความลาดชัน 12 – 20 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่เนินเขาควรทำมาตรการวิธีกลที่เข้มข้น คือ คันดิน
               แบบที่ 5 เป็นคันคูรับน้ำรอบเขา การปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชปุ๋ยสด ปลูกพืชสลับเป็นแถบ ปลูกพืชหมุนเวียน

               ปลูกพืชแซม ปลูกพืชเหลื่อมฤดู การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน คันซากพืช แถบหญ้า เช่น หญ้าแฝก
               หญ้ารูซี่ กระถินกับถั่วมะแฮะ ไม้บังลม เป็นต้น
                    5) พื้นที่ลาดเท มีความลาดชัน 20 – 35 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่มีความลาดเทมากขึ้น จำเป็นต้องมีมาตรการ

               อนุรักษ์ดินและน้ำที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ได้แก่ คันเบนน้ำ คันดินฐานแคบ คันคูรับน้ำรอบเขา ขั้นบันไดดิน ซึ่งอาจจะ
               เป็นขั้นบันไดดินสำหรับไม้ผล สำหรับมาตรการวิธีพืชที่ใช้ก็ควรใช้ร่วมกับวิธีกล ได้แก่ การพืชคลุมดินร่วมกับ
               มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำแบบต่าง ๆ ดังกล่าว การกักเก็บและการระบายน้ำในพื้นที่ดังกล่าว ควรพิจารณา
               มาตรการวิธีกลที่มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และระบายน้ำออกจากพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
                    6) พื้นที่ลาดเทสูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ควรสงวนไว้เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเท่านั้นในพื้นที่

               ป่าเสื่อมโทรมจำเป็นต้องฟื้นฟูให้กลับเป็นพื้นที่ป่าไม้ร่วมกับจัดระบบการอนุรักษ์ดินและน้ำ ในกรณีที่ต้องใช้
               ประโยชน์ทางการเกษตรควรปฏิบัติเช่นเดียวกันกับพื้นที่ลาดเท 20 - 35 ปอร์เซ็นต์และต้องใช้มาตรการวิธีพืชและ
               วิธีกลผสมผสานกัน เช่น การทำขั้นบันไดดิน คันคูรับน้ำรอบเขา การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและ

               ปรับปรุงบำรุงดิน การจัดการดินเฉพาะหลุมเพื่อปลูกไม้ผล เป็นต้น
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56