Page 60 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 60

50



               2. การประเมินค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน
                  ปัจจัยความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน (Soil erodibility factor , K-factor) เป็นค่าปัจจัย

               ความคงทนของดินต่อการถูกกร่อนดิน โดยวัดออกมาเป็นตัวเลข เป็นอัตราการสูญเสียดินต่อหนึ่งหน่วยของ
               ดัชนีการชะล้างพังทลาย (erosion index) ค่า K คำนวณได้จาก

                              K  =  A / EI

                    เมื่อ     K คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการชะล้างพังทลายของดิน

                              A คือ ตัวเลขปริมาณการสูญเสียดินที่ตรวจได้จากแปลงทดลอง

                              EI คือ ค่าตัวเลขปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน

                  วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน
                     1) เตรียมข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้แผนที่ชุดดิน ปี พ.ศ.2561 ซึ่งอยู่ในรูปแบบระบบสารสนเทศ
               ภูมิศาสตร์ มาตรา 1:25,000 จากกองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน กรมพัฒนาที่ดิน

                     2) กำหนดค่าปัจจัย K โดยกรมพัฒนาที่ดินได้มีการศึกษาค่าปัจจัย K ของดินในประเทศไทยจาก

               แผนภาพ Nomograph โดยอาศัยข้อมูลสมบัติดิน 5 ประการ ของตัวแทนชุดดิน (soil series) ที่มีการเก็บ
               ตัวอย่างดินมาวิเคราะห์สมบัติในห้องปฏิบัติการ โดยปัจจัยสมบัติดินที่มีผลต่อค่าปัจจัยความคงทนของดิน
               ได้แก่ (1) ค่าผลรวมเปอร์เซ็นต์ดินทรายแป้งและเปอร์เซ็นต์ดินทรายละเอียดมาก (%silt + %very find

               sand) (2) เปอร์เซ็นต์ทราย (%sand) (3) เปอร์เซ็นต์อินทรียวัตถุ (%organic matter) (4) โครงสร้างของ
               ดิน (soil structure) (5) การซาบซึมน้ำของดิน (permeability) (รูปภาคผนวกที่ 2)






























               รูปภาคผนวกที่ 2 แผนภาพ Nomograph แสดงความสัมพันธ์ของสมบัติดิน 5 ประการ กับค่าปัจจัย K

                         3) ประเมินค่า K โดยยึดถือค่าปัจจัยความคงทนต่อการถูกชะล้างพังทลายของดิน (K-factor)
               ของกรมพัฒนาที่ดิน (2526) ทำการประเมินโดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ พื้นที่สูง และพื้นที่ราบ
               ซึ่งพื้นที่แต่ละส่วนมีรายละเอียดของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจแตกต่างกัน ดังแสดงในตารางภาคผนวกที่ 1
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65