Page 65 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 65

55



               3. การประเมินค่าปัจจัยความลาดชันของพื้นที่
                  ปัจจัยความลาดชันของพื้นที่ (slope length and steepness factor : LS-factor ) เป็นการศึกษา

               ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียดินในแปลงทดลองที่กระทำอย่างต่อเนื่องในสภาพแวดล้อม
               หลากหลายเป็นระยะเวลานาน ทำให้สามารถพัฒนาสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้คำนวณค่าของปัจจัย
               LS – factor สำหรับใช้กับสมการการสูญเสียดินสากล เนื่องจากค่าการสูญโเสียดินที่คำนวณได้จากสมการ
               การสูญเสียดินสากลมักมีค่าสูงกว่าค่าที่วัดได้จริง และส่งผลต่อการคำนวณค่าการสูญเสียดินมากกว่าปัจจัย

               อื่น กรมพัฒนาที่ดินจึงทำการศึกษาเปรียบเทียบการคำนวณค่าปัจจัย  2 ปัจจัย ได้แก่

                  ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท (L-factor)
                  ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเทในสมการสูญเสียดิน คือ ตัวเลขแสดงสัดส่วนการสูญเสียดินต่อหน่วย
               ความยาวของความลาดชัน เป็นความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของความลาดเทและการชะล้างพังทลาย
               แบบแผ่น (Sheet erosion) และการชะล้างแบบริ้ว (Rill erosion) ไม่นับรวมถึงการชะล้างพังทลายแบบ

               อื่น ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินใช้สมการที่ใช้ในการคำนวณค่าปัจจัยความลาดเท (L-factor) โดย
               Wischmeier และ Smith ในปี ค.ศ. 1957 (USDA, 1997) คือ

                      L  =  (λ / 22.13) m

               เมื่อ   L      คือ  ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท

                      Λ    คือ  ค่าความยาวความลาดชัน (เมตร)
                      22.13   คือ  ความยาวของแปลงทดลองมาตรฐาน


                      m      คือ  ตัวเลขยกกำลังซึ่งผันแปรตามความลาดชัน

                  การคำนวณค่า L-factor สำหรับพื้นที่ลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ กำหนดค่า m ที่แนะนำจาก Wischmeier
               et al. (1978) ดังนี้ พื้นที่ลาดชัน 5-21 เปอร์เซ็นต์ ใช้คำแนะนำจาก McCool et al. (1987) และ Toxopeus
               (TIC, 1997) ดังนี้

                      L = (λ / 22.13) 0.2   สำหรับพื้นที่ลาดชัน 0 - 1.0 %


                      L = (λ / 22.13) 0.3   สำหรับพื้นที่ลาดชัน 1.1 - 3.0 %

                      L = (λ / 22.13) 0.4   สำหรับพื้นที่ลาดชัน 3.1 - 5.0 %

                      L = (λ / 22.13) 0.5   สำหรับพื้นที่ลาดชัน 5.1 - 21.0 %

                      L = (λ / 22.13) 0.7   สำหรับพื้นที่ลาดชันมากกว่า 21 %

                     ค่าปัจจยความชัน (S-factor)
                           ั
                     ค่าปัจจัยความชัน คือ ตัวเลขแสดงสัดส่วนของการสูญเสียดินต่อหน่วยความชัน เป็นความสัมพันธ์
               ระหว่างความชันต่อการชะล้างพังทลายของดินแบบแผ่น (Sheet erosion) และการชะล้างพังทลายแบบริ้ว

               (Rill erosion) ไม่นับรวมถึงการชะล้างพังทลายแบบอื่น ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดินใช้สมการที่ใช้ในการคำนวณ
               ค่าปัจจัยความความชัน (S-factor) สำหรับพื้นที่ 0-9 เปอร์เซ็นต์ ใช้สมการ Wischmeieier and Smith
               (1978) และพื้นที่ลาดชัน 0-9 เปอร์เซ็นต์ ใช้สมการแนะนำโดย Meijerink (Huizing, 1992) ดังนี้
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70