Page 68 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 68

58



               4. การประเมินค่าปัจจัยการจัดการพืช
                  ค่าปัจจัยการจัดการพืช (Crop management, C-factor) เป็นดัชนีที่ได้จากอัตราส่วนของปริมาณ

               การสูญเสียดินจากแปลงลดลงที่มีการปูกพืชและการจัดการพืชชนิดใดชนิดหนึ่งกับปริมาณการสูญเสียดินที่ถูก
               ชะล้างมาจากแปลงทดลองที่ปล่อยให้ว่างเปล่า และไถพรวนขึ้นลงตามแนวความลาดเท ค่าปัจจัยการจัดการ
               พืชเป็นค่าที่สะท้อนถึงความสำคัญ ดังนี้
                    1) ประสิทธิภาพของพืช คือ พื้นที่ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณสามารถป้องกันและลดความรุนแรงของ

               การชะล้างพังทลายของดินได้ พืชแต่ละชนิดมีความสามารถสกัดกั้นการตกกระแทกของฝนได้แตกต่างกัน
               และช่วงเวลาในการเจริญเติบโตหรืออายุของพืชมีผลต่อการชะล้างพังทลายของดิน
                    2) ลักษณะการปกคลุมเรือนยอดของพืชแต่ละชนิด มีความสามารถในการปกคลุมพื้นที่ผิวดินได้มากน้อย
               เพียงใด ร่วมกับพืชพรรณที่ขึ้นอยู่เหนือผิวดินและเศษซากเหลือของพืช

                    3) วิธีการปฏิบัติในการปลูกพืชหรือระบบการปลูกพืช โดยค่าปัจจัยการจัดการพืชในการสมการการสูญเสียดิน
               สากลที่ถูกต้องนั้นจะต้องได้จากการทดลองตามธรรมชาติ ซึ่งปล่อยให้พืชพรรณเจริญเติบโตไปตามขั้นตอนและ
               พฤติกรรมตามธรรมชาติของฝนที่ตกตลอดจนกรรมวิธีในการปลูกพืชแต่ละแห่ง เนื่องจากข้อมูลจากการทดลอง
               ด้านนี้ ในประเทศไทยยังมีไม่มากและผลการทดลองไม่แน่ชัด จึงจำเป็นต้องอาศัยผลการทดลองจาก

               ต่างประเทศมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทยตามความเหมาะสม

               5. การประเมินค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
                  ค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน (Conservation Practice factor, P-factor)
               เป็นปัจจัยแสดงสมรรถนะในการควบคุมการชะล้างพังทลายของดินที่ได้จากอัตราส่วนของปริมาณการสูญเสีย
               ดินที่ได้จากแปลงทดลองที่มีการใช้วิธีการอนุรักษ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง กับปริมาณการสูญเสียดินจากแปลง

               ทดลองที่ไถพรวนดินขึ้นลงตามความลาดชัน ในสภาพการณ์ที่เหมือนกัน การปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลาย
               ของดิน แบ่งออกเป็น 4 มาตรการสำคัญ ได้แก่
                    1) การทำการเกษตรตามแนวระดับ (Contouring) รวมถึงวิธีการไถพรวน และการปลูกพืช

                    2) การควบคุมแนวการปลูกพืชและปรับพื้นที่เป็นคันดินเป็นการทำแนวระดับที่แน่นอนและปรับพื้นที่ลาด
               ชันให้สม่ำเสมอและมีแนวการเบนน้ำออกไปจากพื้นที่ โดยคันและคูระบายน้ำไม่ให้ขังอยู่ในพื้นที่รวมถึงการใช้
               เศษวัสดุของพืชในปริมาณสูงไว้ในพื้นที่เป็นแถวตามแนวระดับ
                    3) การปลูกพืชสลับตามแนวระดับ (Contour strip cropping) เป็นการปลูกพืชสลับเป็นแนว โดยมีความ

               กว้างของแต่ละแถวเท่า ๆ กันและพืชที่ปลูกสลับจะครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
                    4) การทำขั้นบันได (Terracing)

                  วิธีสร้างชั้นข้อมูลปัจจัยการจัดการพืช (C-factor) และค่าปัจจัยการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลายของ
               ดิน (P-Factor)
                      1) นำเข้าข้อมูลแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์

               แล้วจำแนกข้อมูลสภาพการใช้ที่ดินในระดับชนิดพืชให้เป็นกลุ่มพืช
                      2) แทนค่า C และ ค่า P ตามค่าปัจจัยการจัดการพืช P-factor ที่ได้จากผลการศึกษาของนักวิชาการ
               (ตารางภาคผนวกที่ 4)
                      3) เก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73