Page 30 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 30

21



                    การสูญเสียธาตุอาหารเป็นรูปแบบหนึ่งของการเสื่อมโทรมของดินจากกระบวนการชะล้างพังทลายของดิน
               ก่อให้เกิดการสูญเสียธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์จากพืช ปริมาณธาตุอาหารถูกพัดพาไปในสภาพสารละลาย

               หรือแขวนลอย ทั้งกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดจากมนุษย์ ปริมาณการสูญเสียธาตุอาหาร
               ขึ้นอยู่กับปริมาณการสูญเสียดินโดยรวม ไนโตรเจน (N) มีแนวโน้มที่จะถูกชะล้างไปกับน้ำไหลบ่ามากกว่า
               ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) เนื่องจากอยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ดีกว่า ประมาณการว่า 20 เปอร์เซ็นต์ จะซึม
               ลงสู่ผิวดินและน้ำใต้ดิน การสูญเสียไนโตรเจนใต้ผิวดินเกิดจากการที่ไนเตรทที่อยู่ในรูปแบบเคลื่อนที่ได้ถูก

               ชะล้างไปพร้อมกับน้ำที่ไหลบ่า กรมพัฒนาที่ดินได้ประเมินการสูญเสียธาตุอาหารในดินจากการศึกษาคุณภาพ
               น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทั่วประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่ถูกพัดพาจากพื้นที่ลุ่มน้ำ พบว่าการสูญเสียธาตุ
               อาหารพืชจากตะกอนดินที่ถูกชะล้างไปทั้งประเทศ คิดเป็นปริมาณธาตุไนโตรเจนในรูปของปุ๋ยยูเรียประมาณ
               294,128 ตันต่อปี ปริมาณฟอสฟอรัสในรูปแบบปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟตประมาณ 275,040 ตันต่อปี และ

               โพแทสเซียมในรูปแบบปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ประมาณ 1,040,314 ตันต่อปี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2563)
                    การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่แต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกันเนื่องจากความแปรปรวน
               ของธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดความรุนแรงของระดับการสูญเสียดินที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร
               และสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ จากการประเมินการสูญเสียดินทั้งประเทศพบว่า

               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2563) ประเทศไทยมีปริมาณการสูญเสียดินอยู่ในระดับน้อย (0 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี)
               พบกระจายอยู่ทุกพื้นที่ โดยคิดเป็นร้อยละ 75.61 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ
                    ภาคใต้มีเนื้อที่ทั้งหมด 44,196,993 ไร่ ครอบคลุม 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

               จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
               จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล กรมพัฒนาที่ดิน
               ดำเนินการประเมินการสูญเสียดินทั้งประเทศ (พ.ศ. 2563) พบว่า ระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน
               ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับน้อย (0 – 2 ตันต่อไร่ต่อปี) ครอบคลุมเนื้อที่ร้อยละ 63.84 ของเนื้อที่ภาคใต้ พบกระจาย
               ในทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา รองลงมาคือความรุนแรงระดับปานกลาง

               (2 – 5 ตันต่อไร่) มีเนื้อที่ร้อยละ 17.51 ของเนื้อที่ภาคใต้ รายละเอียดแสดงในตารางที่ 5

               ตารางที่ 5  เนื้อที่การสูญเสียดินในภาคใต้

                                                 ปริมาณการสูญเสียดิน                  เนื้อที่
                       ระดับการสูญเสียดิน
                                                     (ตันต่อไร่ต่อปี)       ไร่               ร้อยละ

                 การสูญเสียดินน้อย                      0 – 2            28,212,077            63.84

                 การสูญเสียดินปานกลาง                   2 – 5             7,740,097            17.51

                 การสูญเสียดินรุนแรง                   5 – 15             4,189,307             9.48

                 การสูญเสียดินรุนแรงมาก                15 – 20              995,734             2.25

                 การสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด           > 20              3,059,778             6.92


                                         รวม                            44,196,993           100.00
               ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน (2563)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35