Page 25 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 25

บทที่ 3
                                                     ผลการดำเนินงาน

               3.1 ความหมายของการชะล้างพังทลายของดิน

                    การชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion) ตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2551 หมายความว่า
               ปรากฏการณ์ซึ่งที่ดินถูกชะล้างพังทลายด้วยพลังงานที่เกิดจากน้ำ ลม หรือโดยเหตุอื่นให้เกิดการเสื่อมโทรม
               สูญเสียเนื้อดินหรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน การพังทลายของดินเป็นหนึ่งในสิบภัยคุกคามต่อดินที่สำคัญ
               ตามที่ระบุไว้ในรายงานสถานะทรัพยากรดินของโลก (FAO, 2015) การชะล้างพังทลายของดินหมายถึง

               การที่ชั้นดินบนถูกชะล้างออกจากพื้นผิวดินโดยมีตัวเร่ง คือ น้ำ ลม และการไถพรวน การชะล้างพังทลายของ
               ดินที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติภายใต้ทุกสภาพภูมิอากาศและในทุกทวีป จะเพิ่มขึ้นและเร่งขึ้นอย่างมากจาก
               กิจกรรมของมนุษย์ที่ไม่ยั่งยืนผ่านการทำเกษตรกรรมแบบเข้มข้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การหักล้างถางป่า
               มากเกินไป และการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสม ยังพบว่าอัตราการพังทลายของดินสูงกว่าอัตรา

               การก่อตัวของดินมาก ซึ่งหมายความว่าการสูญเสียและความเสื่อมโทรมของดินไม่สามารถฟื้นตัวได้
               ภายในช่วงอายุของมนุษย์ ปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ในประเทศไทยมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
               โดยเฉพาะในพื้นที่สูงและพื้นที่ทำการเกษตร ทั้งจากสภาพตามธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์

               ที่เป็นปัจจัยเร่งให้เกิด เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินหรือการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยขาดการอนุรักษ์ดิน
               และน้ำ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ
               การชะล้างพังทลายของดิน การพังทลายของดินเป็นกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
               แต่การใช้ที่ดินของมนุษย์มักส่งผลให้อัตราการเกิดการชะล้างพังทลายตามธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น (FAO, 2019)
                    กระบวนการชะล้างพังทลายของดินเกิดขึ้นโดยพลังงานของเม็ดฝนที่ตกลงมากระทบและปะทะ

               กับหน้าดิน ทำให้อนุภาคดินที่ยึดเกาะกันอยู่เกิดการแตกแยกออกจากกัน เมื่อมีปริมาณของฝนมากขึ้น ปริมาณ
               ของน้ำฝนจะรวมตัวเป็นน้ำไหลบ่าหน้าดิน และจากแรงของฝนที่ตกลงมาปะทะผิวน้ำที่ไหลบ่าหน้าดินจะทำให้
               เกิดการไหลของน้ำในลักษณะที่วกวน ทำให้อนุภาคของดินแตกกระจายมากขึ้น ขณะเดียวกันอนุภาคของดิน

               ที่แตกกระจายจะถูกเคลื่อนที่ไปตามแนวราบหรือไปตามความลาดชันของพื้นที่ ในลักษณะของการเคลื่อนที่
               ต่าง ๆ กัน เช่น กลิ้ง กระเด็น เคลื่อนหรือพัดพาไปในสภาพแขวนลอยกับน้ำที่ไหลบ่าไปบนผิวดิน กระบวนการ
               เกิดการชะล้างพังทลายของดินเกิดจากกระบวนการที่สำคัญ 3 กระบวนการ ดังนี้
                    1) กระบวนการแตกกระจาย (Detachment) โดยการกระทำของเม็ดที่ฝนตกลงมาปะทะกับหน้าดิน

               โดยเม็ดฝนที่ตกลงมามีพลังงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีมวลและความเร็ว เมื่อตกลงมากระทบกับหน้าดิน
               ที่จะถ่ายทอดพลังงานให้กับผิวดิน จึงทำให้อนุภาคดินแตกกระจายออกจากกัน
                    2) กระบวนการเคลื่อนย้ายอนุภาคดิน (Transportation) ภายหลังที่เม็ดฝนกระทบหน้าดินแล้ว
               จะก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินโดยน้ำ บางส่วนไหลซึมลงดิน เมื่อดินอิ่มตัวจนน้ำไม่สามารถ

               ไหลซึมลงดินได้จะทำให้เกิดน้ำไหลบ่าหน้าดิน พัดพาเอาก้อนดินเล็ก ๆ ที่แตกกระจายอยู่บนผิวดิน
               และเคลื่อนย้ายไปกับน้ำ
                    3) กระบวนการทับถมของอนุภาคดินหรือตะกอน (Deposition) โดยอนุภาคดินที่ถูกพัดพาเคลื่อนย้าย
               ไปกับน้ำไหลบ่าตามแนวราบหรือตามความลาดชันของพื้นที่ ทำให้เกิดการตกตะกอนทับถมผิวหน้าดน
                                                                                                        ิ
               ในพื้นที่ลุ่มต่ำ หรือเกิดการสะสมตะกอนของดินในแหล่งน้ำ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30