Page 21 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 21

12



               2.5 ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำ
                    ภาคใต้มีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงในตอนกลางของภาค และเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญที่

               ไหลออกสู่ทะเลด้านตะวันออกและตะวันตก แม่น้ำที่สำคัญของภาคใต้เป็นสายสั้น ๆ เนื่องจากมีพื้นที่น้อยและ
               ไหลลงสู่อ่าวไทย เช่น แม่น้ำชุมพร แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปี แม่น้ำสายบุรี ส่วนแม่น้ำโก-ลก เป็นพรมแดน
               ธรรมชาติที่กั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนแม่น้ำปากจั่น กั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย
               กับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยไหลออกสู่ทะเลทั้งสองด้าน ได้แก่

                    2.5.1 แม่น้ำที่ไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำชุมพร แม่น้ำสวี และแม่น้ำหลังสวน ใน
               จังหวัดชุมพร แม่น้ำพุมดวง และแม่น้ำตาปี ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำปากพนัง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
               แม่น้ำเทพา ในจังหวัดสงขลา แม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี แม่น้ำโก-ลก และ
               แม่น้ำบางนรา ในจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสาขาไหลผ่านกระจายทั่วไป

                    2.5.2 แม่น้ำที่ไหลออกสู่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำกระบุรี ในจังหวัดระนอง แม่น้ำพังงา
               ในจังหวัดพังงา แม่น้ำตรัง ในจังหวัดตรัง คลองละงู ในจังหวัดสตูล นอกจากนี้ยังมีแม่น้ำสาขาไหลกระจาย
               ทั่วไป
                    นอกจากแหล่งน้ำทางธรรมชาติยังมีแหล่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำ โดยในพื้นที่ภาคใต้มีปริมาณการเก็บกักน้ำได ้

               ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของภาคใต้จำนวน 1 อ่าง คือ อ่างเก็บน้ำรัชชประภา พบว่าปริมาณน้ำเก็บกักเฉลี่ย 5 ปี
               ระหว่างปี 2560 - 2564 มีปริมาณ 4,023 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุระดับเก็บกักน้ำ
               ของอ่าง ซึ่งมีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ย 5 ปี น้อยกว่าปริมาณน้ำกักเก็บ 5 ปี ในช่วงระหว่างปี 2555 - 2559 ซึ่งมี

               ปริมาณน้ำเก็บกักเฉลี่ย 4,547 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 81 ของความจุระดับเก็บกักน้ำของอ่าง แม้ว่า
               ความสามารถในการกักเก็บจะค่อนข้างต่ำ แต่ไม่ส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคและการทำการเกษตรของ
               ประชาชนมากนัก เนื่องจากมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติที่สามารถกักเก็บน้ำได้อยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีปริมาณ
               น้ำฝนค่อนข้างมาก (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2564)

               2.6 ทรัพยากรป่าไม้

                    พืชพรรณธรรมชาติในภาคใต้ที่สำคัญ ได้แก่ ป่าดงดิบชื้น ป่าพรุ ป่าชายเลน และป่าชายหาด
               โดยป่าดงดิบชื้นในภาคใต้อยู่ในที่ราบหรือบนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล
               พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงชายเขตแดนป่าพรุในภาคใต้อยู่ถัดจากบริเวณป่าชายเลน โดยพื้นที่ลุ่ม
               ที่มีการทับถมของซากพืชและอินทรียวัตถุที่สลายตัวน้อย และมีน้ำท่วมขังหรือชื้นแฉะเกือบตลอดปี มีต้นไม้

               ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ป่าพรุในท้องที่จังหวัดภาคใต้แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตามบริเวณพรุน้ำกร่อยใกล้
               ชายทะเล ต้นเสม็ดจะขึ้นอย่างหนาแน่น พื้นที่ป่ามีกกชนิดต่าง ๆ ขึ้นบางครั้ง ก็เรียกกันว่า ป่าพรุเสม็ดหรือ
               ป่าเสม็ด อีกลักษณะหนึ่งเป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ขึ้นปะปนกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกบุกรุกทำลายระบายน้ำ
               ออกเปลี่ยนไปเป็นสวนมะพร้าว นาข้าว และบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา คงเหลือเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ในจังหวัด

               นราธิวาส คือ พรุโต๊ะแดง ซึ่งยังคงเป็นป่าพรุสมบูรณ์ และพรุบาเจาะซึ่งเป็นป่าพรุที่เสื่อมสภาพแล้ว ป่าชาย
               เลนที่พบลักษณะเป็นป่าไม้ผลัดใบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น แต่ละชนิดมีรากค้ำยันและรากหายใจแตกต่างกันไป
               ป่าชนิดนี้ปรากฏตามดินเลนริมทะเล หรือบริเวณปากแม่น้ำใหญ่ ๆ ซึ่งมีน้ำเค็มท่วมถึง ในภาคใต้มีอยู่ตาม
               ชายฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ชายฝั่งด้านตะวันออกมีป่าชายเลนขึ้นอยู่เป็นแห่ง ๆ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึง

               จังหวัดปัตตานี ส่วนชายฝั่งด้านตะวันตกมีป่าชายเลนอยู่อย่างหนาแน่น ตั้งแต่จังหวัดระนองจนถึงจังหวัด
               สตูล สำหรับป่าชายหาดเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบพบอยู่เพียงเล็กน้อย อยู่ตามริมชายทะเลน้ำไม่ท่วมตามฝั่งดิน
               และชายเขาริมทะเล
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26