Page 26 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 26

17



               3.2 ประเภทของการชะล้างพังทลายของดิน
                    การชะล้างพังทลายของดินสามารถแบ่งได้ตามสาเหตุการเกิดได้ 2 ประการ คือ

                    3.2.1 การชะล้างพังทลายโดยธรรมชาติ (Geologic or natural or normal erosion)
                         การชะล้างพังทลายโดยธรรมชาติเป็นกระบวนการทางธรณีวิทยาทางธรรมชาติ โดยที่มีน้ำและลม
               เป็นตัวการ เช่น การชะละลาย (Leaching) แผ่นดินเลื่อนและดินถล่ม (Landslides and soil creep)
               การชะล้างพังทลายของดินที่พื้นที่ผิวดินโดยน้ำ (Surface erosion by water) การพัดพาโดยลมตามชายฝั่ง

               ทะเลหรือทะเลทราย (Wind erosion) การสูญเสียเช่นนี้ป้องกันไม่ได้ ผิวดินบนอาจสูญเสียไปเพียง 1 นิ้ว
               เพราะเป็นการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปและช้ามาก จากการศึกษาขององค์การอาหารและการเกษตร
               แห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) และผู้แทน
               คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ทางดิน (Inter-Governmental Technical Panel on Soils : ITPS) (2015)

               พบว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นโดยน้ำเป็นตัวเร่งเป็นสาเหตุให้เกิดการชะล้างพังทลายมากที่สุด ส่วนกระบวนการ
               ที่เกิดจากลมเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งและกึ่งแห้งแล้งและเป็นรูปแบบการกัดเซาะที่เกิดในภูมิภาค
               ตะวันออกใกล้ (กรีซ ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย แอลเบเนีย ตุรกี เลบานอน ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน
               ซาอุดีอาระเบีย และประเทศอื่น ๆ ในคาบสมุทรอาหรับ) และแอฟริกาเหนือ

                    3.2.2 การชะล้างพังทลายของดินโดยมีตัวเร่ง (Accelerated or man-made erosion)
                         การชะล้างพังทลายของดนโดยมีตัวเร่งโดยมนุษย์หรือสัตว์เข้ามาเป็นตัวช่วยเร่งการชะล้างพังทลาย
                                              ิ
               ของดิน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมตามธรรมชาติ เช่น การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน การหักล้างถางป่า

               ทำการเกษตรอย่างขาดหลักวิชาการ ทำให้พื้นที่ดินขาดสิ่งปกคลุม เกิดการชะล้างพังทลายของดินโดยลม
               และฝนได้ง่ายขึ้น

                    ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินมีหลายปัจจัย จากกิจกรรมการใช้ที่ดินของมนุษย์ และปัจจัย
               ทางธรรมชาติ ได้แก่ สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ลักษณะภูมิอากาศ ความลาดชันของพื้นที่ ลักษณะพืชพรรณ
               ที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ คุณสมบัติของดินและการจัดการที่ดิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการสูญเสียอนุภาคดิน

               จากพื้นที่อย่างมาก น้ำฝนและน้ำไหลบ่าหน้าดิน เป็นตัวการที่สำคัญที่ทำให้เกิดกระบวนการชะล้างของดิน
               ซึ่งความรุนแรงของเม็ดฝนทำให้อนุภาคของดินแตกกระจาย และน้ำไหลบ่าหน้าดินจะเป็นตัวพาเอาอนุภาค
               ของดินที่แตกกระจายออกไปจากพื้นที่ โดยประเภทของการชะล้างพังทลายของดินมีดังนี้
                         1) การชะล้างแบบกระเด็น (Splash erosion) เกิดจากการที่เม็ดฝนกระทบผิวหน้าดิน ซึ่งไม่มีวัสดุ

               ปกคลุมเป็นสาเหตุให้เม็ดดินแตกกระจาย และกระเด็นออกจากที่อยู่เดิม ไปรวมตัวกันอยู่ในอีกพื้นที่หนึ่ง
               ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับพื้นที่ที่มีการไถพรวนเพื่อเตรียมการเพาะปลูก ทำให้บริเวณที่โดนฝนมีพื้นผิวเรียบ
               เป็นการเพิ่มการไหลบ่าของน้ำ ดินพื้นโผล่มีผลทำให้ผิวหน้าดินในบริเวณดังกล่าวแน่นขึ้น ลดความลึกของดิน
               สำหรับยากต่อการหยั่งรากของพืช และเป็นสาเหตุทำให้เกิดการชะล้างพังทลายในรูปแบบอื่น ๆ ตามมา

                         2) การชะล้างพังทลายแบบแผ่น (Sheet erosion) เกิดขึ้นเมื่อเกินความสามารถในการแทรกซึมนำ
                                                                                                         ้
               ของดินแล้ว น้ำจะไหลบ่าผ่านหน้าผิวดินพัดพาเอาอนุภาคดินออกไปจากพื้นที่เป็นลักษณะแผ่นบาง ๆ
               สม่ำเสมอทั่วทั้งพื้นที่ โดยอัตราการไหลของน้ำจะเป็นไปอย่างช้า ๆ ส่วนใหญ่จะพัดพาเอาอนุภาคของดินที่แตก
               กระจายอยู่แล้วจากอิทธิพลของเม็ดฝน ดังนั้นการชะล้างพังทลายแบบแผ่นจึงเป็นการสูญเสียดินในส่วนผิวหน้า

               ดินเป็นแผ่นบาง ๆ ทั่วทั้งพื้นที่ ส่วนที่เหลืออยู่จึงเป็นดินชั้นล่างหรือดินดานที่พลังงานของน้ำไม่สามารถพัดพา
               ออกไปได  ้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31