Page 31 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 31

22



                    โดยพื้นที่ที่พบการสูญเสียดินรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 20 ตันต่อไร่) คิดเป็นร้อยละ 6.92 ของเนื้อที่
               ภาคใต้ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ 486,764 ไร่ รองลงมาคือจังหวัดชุมพร มีเนื้อที่ 410,884 ไร่

               กล่าวคือลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้มีสภาพภูมิประเทศที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ มีลักษณะเป็นที่ราบ
               ชายฝั่งทะเล ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่ง มีภูเขาสูงสลับกับภูเขาเตี้ยเป็นแกนกลาง ประกอบกับปริมาณน้ำฝน
               ที่มากกว่าภาคอื่น ๆ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงระดับความรุนแรงของการสูญเสียดินย่อมรุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้
               บริเวณดังกล่าวอาจได้รับผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดินระดับรุนแรง สูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ของ

               ประเทศไทย เช่น จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา และจังหวัดสุราษฎร์ธานี

               3.5 พื้นที่การเกิดชะล้างพังทลายของดิน
                    จากการวิเคราะห์ค่าการสูญเสียดินโดยสมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation :
               USLE) คำนวณค่าการสูญเสียดิน โดยใช้เทคนิคสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ช่วยในการจัดการข้อมูล
               และทำแผนที่ตามแบบจำลองคณิตศาสตร์ของสมการการสูญเสียดินสากล โดยใช้ 6 ปัจจัย คือ ค่าปัจจัย

               การชะล้างพังทลายของฝน ค่าปัจจัยความคงทนต่อการสูญเสียดิน ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท
               ค่าปัจจัยความชัน ค่าปัจจัยการจัดการพืช ค่าปัจจัยการป้องกันการพังทลายของดิน แล้วทำการจัดชั้นความ
               รุนแรงของการสูญเสียดิน 5 ระดับ แล้วจัดทำเป็นแผนที่การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตร

               นอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายรายจังหวัด พร้อมทั้งสำรวจข้อมูลภาคสนาม โดยการสุ่มตรวจในสภาพพื้นที่
               จริงเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และปรับแก้เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น แล้วจัดทำแผนที่
               พื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินรายจังหวัด ในพื้นที่ภาคใต้ พบว่ามีเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินในพื้นที่
               ทำการเกษตรทั้งหมด 25,213,197 ไร่ โดยสามารถแบ่งพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินออกเป็น 5 ระดับ
               ส่วนใหญ่มีระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 14,426,081 ไร่ รองลงมาคือระดับปานกลาง

               (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 5,928,475 ไร่ ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 3,303,076 ไร่
               ระดับรุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 1,213,341 ไร่ และระดับรุนแรงมาก (15 - 20
               ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 342,224 ไร่ ตามลำดับ รายละเอียดตามตารางที่ 6

               ตารางที่ 6 จำนวนเนื้อที่แยกตามระดับชั้นความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงการสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตร
                         ของภาคใต้ ปี 2566


                          ระดับชั้นความรุนแรงของพื้นที่เสี่ยงการสูญเสียดิน        เนื้อที่ (ไร่)   ร้อยละ

                  ชั้น 1 ระดับน้อย อัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี         14,426,081       57.22

                  ชั้น 2 ระดับปานกลาง อัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี       5,928,475       23.51


                  ชั้น 3 ระดับรุนแรง อัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี       3,303,076       13.10


                  ชั้น 4 ระดับรุนแรงมาก อัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อปี    342,224         1.36

                  ชั้น 5 ระดับรุนแรงมากที่สุด อัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี   1,213,341   4.81


                                              รวม                               25,213,197       100.00
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36