Page 29 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 29

20



               3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
                    การชะล้างพังทลายของดินส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถของดิน

               ในการผลผลิตพืช เมื่อดินชั้นบนที่มีความอุดมสมบูรณ์ถูกชะล้างเหลือเพียงดินชั้นล่างที่ขาดความอุดมสมบูรณ์
               เป็นผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง การทำงานของระบบนิเวศลดลง เพิ่มความเสี่ยงทางอุทกธรณีวิทยา
               เช่น แผ่นดินถล่มหรือน้ำท่วม ทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมีนัยสำคัญ และในกรณี
               ร้ายแรงอาจนำไปสู่การย้ายถิ่นฐาน และอาจส่งผลต่อการแทรกซึม การจัดเก็บและการระบายน้ำในดิน

               ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังและขาดแคลนน้ำ รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย (FAO, 2019)
                    การชะล้างพังทลายของดินส่งผลชัดเจนต่อการเคลื่อนย้ายความอุดมสมบูรณ์ออกจากพื้นที่โดยทำให้
               ชั้นหน้าดินบนเสียหาย โครงสร้างดินถูกทำลาย ซึ่งเป็นบริเวณที่รากพืชเจริญเติบโต จากการวิเคราะห์ข้อมูล
               จาก FAO (2019) พบว่าในกระบวนการชะล้างในแต่ละครั้งจะลดการเพิ่มขึ้นของชั้นดินที่เป็นประโยชน์

               และเมื่อทำการไถในรอบถัดไปดินที่อยู่ชั้นล่างชั้นไถพรวนถูกรวมเข้ามาอยู่ในชั้นเดียวกัน หากชั้นดินที่เกิดขึ้นใหม่
               มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ ก็จะเป็นการเจือจางความเข้มข้นของอินทรียวัตถุและส่งผลต่อความเป็นประโยชน์
               ของอินทรียวัตถุอีกด้วย ดังแสดงในรูปที่ 6 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกิดการสูญเสียของชั้นหน้าดินที่มีปริมาณ
               อินทรียวัตถุอยู่ ซึ่งกระบวนการชะล้างพังทลายนี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียดินในอัตรา 0.2 เซนติเมตรต่อปี





























               รูปที่ 6 ผลของการชะล้างพังทลายต่อชั้นดินและอินทรียวตถุในดิน (FAO, 2019)
                                                              ั
                    นอกจากนี้ เมื่อหน้าดินถูกชะล้างออกไปดินล่างโผล่ในพื้นที่อาจเกิดชั้นดินเหนียวที่อยู่ใต้ชั้นไถพรวน

               ทำให้เกิดการรวมตัวของวัสดุดินดินเหนียวเข้ากับชั้นดินบนทำให้ดินมีความหนาแน่นมากขึ้น ดินจับตัวกันเป็น
               ก้อน ยากต่อการงอกของพืช การสูญเสียหน้าดินหรือดินชั้นบนจากการเกิดการชะล้างหน้าดินส่งผลให้
               ความสามารถในการจัดการธาตุอาหารของดินลดลงเห็นได้ชัดในดินทราย แต่ในกรณีของดินร่วนหรือดินเหนียว

               เมื่ออนุภาคแต่ละอนุภาครวมตัวกันเป็นก้อนที่เสถียร อนุภาคเหล่านี้จะมีโอกาสน้อยที่จะถูกฝนหรือลมพัดพา
               ออกไป เนื่องจากมีโครงสร้างดินที่ดี ปริมาตรรวมของช่องมาก ความพรุนสูง อุ้มน้ำได้มาก ดินเสื่อมโทรมที่มี
               โครงสร้างไม่ดีสามารถกัดกร่อนได้ง่ายเนื่องจากขาดคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลให้โครงสร้างดินบนเสีย
               เห็นได้ชัดใน 2 - 10 ปี (สุนีย์รัตน์, 2565) พื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเกินกว่าการคายระเหยน้ำ

               ของดินจะเกิดการสูญเสียไอออนบวกจากหน้าดินทำให้ดินเป็นกรด (FAO, 2015)
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34