Page 27 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 27

18



                         3) การชะล้างพังทลายแบบริ้ว หรือแบบร่องขนาดเล็ก (Rill erosion)
                            การชะล้างพังทลายแบบริ้ว หรือแบบร่องขนาดเล็กเป็นลักษณะของการชะล้างผิวหน้าดินเป็น

               ร่องเล็ก ๆ เกิดจากการที่น้ำผิวดินไหลมารวมตัวกัน และไหลชะล้างผิวดินออกจากพื้นที่ ในอัตราการไหลที่
               ค่อนข้างเร็ว จึงกัดเซาะดินให้เป็นร่อง เกิดเป็นแนวขึ้นลงตามความลาดเทพของพื้นที่ มีส่วนทำให้โครงสร้างดิน
               เสียหายมาก สร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของพืช พบในพื้นที่ทำเกษตรกรรมที่มีดิน
               เป็นดินร่วนปนทราย มีความลาดเทปานกลาง มักเกิดจากน้ำไหลตามร่องพืชที่ปลูกตามแนวลาดเท หรือบริเวณ

               พื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย ไม่สม่ำเสมอกัน ความลึกของริ้วไม่เกิน 5-8 เซนติเมตร กว้างไม่เกิน 15
               เซนติเมตร
                         4) การชะล้างพังทลายแบบร่องลึก (Gully erosion)
                            การชะล้างพังทลายแบบร่องลึกเป็นลักษณะของการชะล้างพังทลายของพื้นที่จนเป็นร่องน้ำ

               ขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการที่น้ำไหลบ่าผิวหน้าดินไหลมารวมตัวกันในปริมาณมาก และไหลออกจากพื้นที่
               อย่างรวดเร็ว และพื้นที่นั้นมีความลาดชันมากทำให้เกิดการกัดเซาะผิวดินเป็นร่องขนาดใหญ่ อาจมีความกว้าง
               มากกว่า 30 เซนติเมตร บางแห่งอาจมีขนาดกว้างกว่า 10 เมตร ถ้าปล่อยไว้นานอาจทำให้พื้นที่
               เกิดความเสียหายและยากต่อการแก้ไข มักพบในพื้นที่เกษตร





























               รูปที่ 5 กระบวนการชะล้างพังทลายของดินโดยน้ำเป็นตวเร่ง (FAO, 2019)
                                                             ั

               3.3 ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน
                    การชะล้างพังทลายของดินเป็นส่วนหนึ่งของความเสื่อมโทรมของที่ดินซึ่งเป็นภัยคุกคามที่สำคัญ
               ต่อความมั่นคงทางอาหารของโลก และต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable

               Development Goals: SDGs) ซึ่งกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนอย่างน้อย 3.2 พันล้านคนทั่วโลก
               การจัดระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2563)
               ยึดตามผลกระทบต่อระบบนิเวศของพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ค่าการสูญเสียดินสูงสุด
               ที่ยอมรับได้สำหรับพื้นที่เกษตร คือ ระดับที่ไม่มีผลเสียหายต่อคุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาวและ

               ยังคงได้รับผลผลิตพืชและมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ โดยระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน
               จำแนกออกเป็น 5 ระดับ รายละเอียดตามตารางที่ 3
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32