Page 32 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 32

23



               3.6 พื้นที่คาดว่าได้รับผลกระทบจากการชะล้างพังทลายของดิน
                    จากกการวิเคราะห์ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่าพื้นที่ภาคใต้มีเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน

               ในพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด จำนวน 25,213,197 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 57.05 ของเนื้อที่ทั้งภาค โดยพบมากที่สุด
               ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 5,029,784 ไร่ (ร้อยละ 19.95 ของเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินในพื้นที่ทำ
               การเกษตรภาคใต้) รองลงมาคือ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 4,077,129 ไร่ (ร้อยละ 16.17) และ
                                                                                                       ่
               จังหวัดสงขลา จำนวน 3,252,250 ไร่ (ร้อยละ 12.90) ตามลำดับ พบน้อยที่สุดที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีเนื้อที่เสียง
               ต่อการสูญเสียดิน 197,540 ไร่ (ร้อยละ 0.78)  ทั้งนี้หากพิจารณาจากระดับการสูญเสียดินที่พบอยู่ในระดับ
               รุนแรงมากที่สุด (มากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี ) ค่อนข้างสูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ คือ จังหวัดระนอง 103,944 ไร่
               (ร้อยละ 26.23 ของเนื้อที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตร) จังหวัดยะลา 156,410 ไร่ (ร้อยละ
               17.62) จังหวัดพังงา 150,608 ไร่ (ร้อยละ 16.41) และจังหวัดนราธิวาส 176,138 ไร่ (ร้อยละ 10.58)

               ตามลำดับโดยสามารถจำแนกพื้นที่ออกเป็นรายจังหวัด มีระดับความรุนแรงของการสูญเสียดิน 2 ลำดับแรก
               ดังนี้ (ตารางที่ 7 และ รูปที่ 7)
                     1) จังหวัดกระบี่ พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 1,946,237 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 808,205 ไร่ รองลงมาคือ

               ระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 583,235 ไร่ (รูปที่ 8)
                     2) จังหวัดชุมพร พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 1,964,912 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 790,845 ไร่ รองลงมาคือ

               ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี)  จำนวน 499,654 ไร่ (รูปที่ 9)
                     3) จังหวัดตรัง พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 1,744,086 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 895,872 ไร่ รองลงมาคือ
               ระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 632,678 ไร่ (รูปที่ 10)
                     4) จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้

               ตามกฎหมายทั้งหมด 4,077,129 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 3,024,537 ไร่
               รองลงมาคือ ระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 754,446 ไร่ (รูปที่ 11)
                     5) จังหวัดนราธิวาส พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้

               ตามกฎหมายทั้งหมด 1,664,189 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 913,213 ไร่
               รองลงมาคือ ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 302,656 ไร่ (รูปที่ 12)
                     6) จังหวัดปัตตานี พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 1,060,637 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 754,802 ไร่ รองลงมาคือ

               ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 138,128 ไร่ (รูปที่ 13)
                     7) จังหวัดพังงา พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 918,003 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 399,540 ไร่ รองลงมาคือ
               ระดับรุนแรง (5 - 15 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 209,123 ไร่ (รูปที่ 14)

                     8) จังหวัดพัทลุง พบว่ามีพื้นที่ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
               ทั้งหมด 1,447,415 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับน้อย (0 - 2 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 1,160,629 ไร่ รองลงมาคือ
               ระดับปานกลาง (2 - 5 ตันต่อไร่ต่อปี) จำนวน 253,332 ไร่ (รูปที่ 15)
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37