Page 19 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 19

10



               2.4 ทรัพยากรดิน
                    ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขาสูง เนินเขา ที่ราบตะกอนน้ำพาลาดเทลงไปที่ราบชายฝั่ง

               ทะเล ลักษณะดินที่พบขึ้นอยู่กับปัจจัยการกำเนิดดิน เริ่มจากบริเวณที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเล
               ส่วนที่เป็นแผ่นดินจะพบที่ราบน้ำท่วมถึง ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินระโนด (Ran) ชุดดินไชยา (Cya)
               ชุดดินเกาะใหญ่ (Koy) ชุดดินคลองขุด (Kut) ชุดดินสตูล (Stu) ชุดดินท่าศาลา (Tsl) และชุดดินวิสัย (Vi)
               ถัดขึ้นไปบริเวณตะพักลำน้ำ ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินทุ่งค่าย (Tuk) ชุดดินชุมพร (Cp) และชุดดินสงขลา (Sng)

               ต่อเนื่องขึ้นไปบริเวณที่เป็นเนินเขาและภูเขาหินอัคนี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิต ชุดดินที่พบ ได้แก่
               ชุดดินควนกาหลง (Kkl) สลับกับสัณฐานภูมิประเทศที่เป็นเนินเขาและภูเขาของหินตะกอน พวกหินทราย
               ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินฝั่งแดง (Fd) ชุดดินคลองท่อม (Km) ชุดดินสวี (Sw) และชุดดินท่าแซะ (Te)
               ในส่วนที่เกิดจากหินดินดาน ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินเขาขาด (Kkt) ชุดดินนาทอน (Nth) ชุดดินวังตง (Wat)

               และชุดดินกันตัง (Kat) นอกจากนี้ยังพบภูมิประเทศแบบคาสต์ที่เกิดจากการสลายตัวพุพังของหินปูน
               และหินดินดาน ชุดดินที่พบ ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก (Ak) ทั้งนี้หากพิจารณาตามสภาพพื้นที่ที่พบสามารถแบ่งได้
               ดังนี้ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558)
                    2.4.1 ดินในพื้นที่ราบลุ่มหรือพื้นที่น้ำขัง

                         มีสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ บริเวณที่ราบน้ำทะเลท่วมถึง ที่ลุ่มต่ำระหว่าง
               สันทราย ที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงตะพักลำน้ำจนถึงที่ราบระหว่างเนินเขาและหุบเขา ในช่วงฤดูฝนมีน้ำแช่ขังแฉะ
               มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ใกล้ผิวดิน การระบายน้ำค่อนข้างเลว เลว ถึงเลวมาก ดินมีสีเทาอ่อนมีจุดประสีตลอดหน้า

                                                                                   ่
                                                ั
               ตัดดิน บ่งบอกถึงการมีน้ำแช่ขังในหน้าตดดิน ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดปานกลางถึงดางปานกลาง หากบริเวณใด
               มีอิทธิพลของดินเปรี้ยว ปฏิกิริยาดินจะเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัดมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
               ถึงปานกลาง ประกอบด้วย 19 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2 3 5 6 7 8 10 11 13 14 16 17 18 22 23
               25 57 58 และ 59 จำแนกตามกลุ่มเนื้อดินอย่างกว้าง ๆ ได้ 7 กลุ่ม ดังนี้
                         1) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเลนเละ มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มีศักยภาพเป็นดิน

               เปรี้ยวจัด ยังได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลขึ้นลงเป็นประจำ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 13
                         2) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว
               ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทรายแป้ง บริเวณที่ได้รับอิทธิพลของตะกอนน้ำทะเล

               เป็นดินเปรี้ยว ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 2 3 5 6 7 10 11 และ 14
                         3) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง
               ส่วนดินล่างเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว
               ปนทรายแป้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 16 17 18 22 และ 59

                         4) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินทราย มีเนื้อดินทั้งดินบนและดินล่างเป็นดินทราย หรือดินทรายปนดินร่วน
               ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 23
                         5) กลุ่มเนื้อดินที่ยกร่อง ส่วนใหญ่ทั้งดินบนและดินล่างเป็นดินเหนียว ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 8
                         6) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นตื้น มีเนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ส่วนดินล่าง

               เป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียว มีกรวดหรือลูกรังปะปนปริมาณร้อยละ 35 หรือมากกว่าโดยปริมาตร
               ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 25
                         7) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินอินทรีย์ มีการสะสมวัสดุอินทรีย์ที่สลายตัวน้อยถึงปานกลาง เป็นชั้นหนาบาง
               บริเวณในชั้นดินล่างมีตะกอนทะเลที่มีศักยภาพในการเป็นดินเปรี้ยวจัด ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 57 และ 58
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24