Page 14 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 14

5



                            3) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ จะพัดพาเอาไอน้ำ ความชื้นและความร้อนจากเส้นศูนย์สูตร
               ผ่านอ่าวไทย เข้ามายังแผ่นดินในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ทำให้มีอุณหภูมิสูงและมีฝนตก

               กระจัดกระจายเป็นบางครั้ง
                      2.2.2 อุณหภูมิ
                            อุณหภูมิเฉลี่ยของภาคใต้อยู่ที่ประมาณ 27 องศาเซลเซียส แสดงถึง อากาศที่ค่อนไปทาง
               ร้อนทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาคใต้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นมรสุมอากาศมักจะร้อนอบอ้าวทั้งปีโดยเฉพาะช่วง

               ก่อนจะมีพายุและลมกรรโชกแรง โดยที่อุณหภูมิภาคใต้ฝั่งตะวันออกนั้นเกือบจะไม่แตกต่างกันเลย
               จึงสอดคล้องกับข้อมูลทางด้านวิชาการว่าภาคใต้นั้นมีเพียงฤดูร้อนและฤดูฝนเท่านั้น แต่ในบางพื้นที่
               ของภูมิภาคอาจจะเป็นพื้นที่เงาฝนทำให้อุณหภูมิในพื้นที่นั้น ๆ สูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ได้ จังหวัดที่มี
               อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในคาบ 30 ปี (พ.ศ. 2535 - 2565) ของภาคใต้ คือ จังหวัดตรัง ประมาณ 33.1

               องศาเซลเซียส จังหวัดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดของภาคใต้ คือ จังหวัดกระบี่ เฉลี่ยประมาณ 22.4 องศา
               เซลเซียส
                      2.2.3 ปริมาณน้ำฝน
                            ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 2,521.4 มิลลิเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาค

               มีฝนตกมากกว่าปกติ โดยจังหวัดนราธิวาสมีฝนตกมากกว่าปกติที่สุด 42.48 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ
               จังหวัดปัตตานีที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 40.12 เปอร์เซ็นต์ และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่
               ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีฝนตกน้อย

               กว่าปกติ 10.83 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีฝนตกน้อยกว่าปกติมากที่สุดในประเทศประจำปี 2565
                            ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกเฉลี่ยทั้งภาค 3,026 มิลลิเมตร มากกว่าปกติ 23 เปอร์เซ็นต์
               พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคมีฝนตกมากกว่าปกติ พบว่า จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูลที่มีฝนตกมากกว่าปกติ 28.06
               เปอร์เซ็นต์ และ 21.48 เปอร์เซ็นต์ และมีฝนตกน้อยกว่าปกติเกิดขึ้นในบางพื้นที่ของจังหวัดกระบี่ ซึ่งมีฝนตก
               น้อยกว่าปกติ 5.55 เปอร์เซ็นต์ซึ่งน้อยกว่าปกติที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศประจำปี 2565 (สถาบัน

               สารสนเทศทรัพยากรน้ำ, 2565)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19