Page 13 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 13

บทที่ 2
                                                        ข้อมูลทั่วไป


               2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
                    ภาคใต้ ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 5 องศา 35 ลิปดา 57 ถึง 12 องศา 37 ลิปดาเหนือและลองจิจูดที่ 98

               องศา 14 ลิปดา ถึง 102 องศา 05 ลิปดาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 44,196,993 ไร่ หรือ 70,715.187
               ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.78 ของเนื้อที่ทั้งประเทศ ประกอบด้วย 14 จังหวัด และแบ่งตาม
               ลักษณะภูมิอากาศเป็น 2 ฝั่ง คือ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ได้แก่ บริเวณตอนบนของภาคต่อเนื่องถึงที่ราบ
               ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก ประกอบด้วย 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

               จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส
               ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วย 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่
               จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล

                    ทิศเหนือ         ติดกับ  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                    ทิศตะวันออก      ติดกับ  อ่าวไทย

                    ทิศตะวันตก       ติดกับ  ทะเลอันดามัน และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                    ทิศใต้           ติดกับ  ประเทศมาเลเซีย

               2.2 สภาพภูมิอากาศ
                    ภูมิอากาศในภาคใต้เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน เนื่องจากภูมิประเทศของภาคใต้มีลักษณะเป็นคาบสมุทร
               ยาวและแหลม มีพื้นน้ำขนาบอยู่ทั้งทางด้านตะวันตกและทางด้านตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชายฝั่ง

               ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีลักษณะอากาศร้อนชื้นฝนตกตลอดปี ภาคใต้จึงไม่มีฤดูกาลดังเช่นภูมิภาคอื่น ๆ
               ของประเทศไทย และเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกมากที่สุด
                    2.2.1 ฤดูกาล

                         จากอิทธิพลของลมมรสุมทั้ง 3 ทิศทางจึงส่งผลให้ภาคใต้มีเพียง 2 ฤดู  คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน
               หรือ ฤดูมรสุม ในฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียง
               ใต้ ทำให้ปริมาณฝนของภาคใต้มีมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ฝนตกชุกและกระจายสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี
               และอาจมีฝนตกบ้างในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนและมีอุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงนี้ ปริมาณฝนราย

               เดือนและรายปีของประเทศไทย พ.ศ. 2565 เปรียบเทียบกับค่าปกติ (พ.ศ. 2534 - 2563) ภาคใต้ฝั่ง
               ตะวันออกมีปริมาณฝนอยู่ที่ 2,521 มิลลิเมตร และภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีปริมาณฝนอยู่ที่ 3,436 มิลลิเมตร
               (กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566) โดยจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของภาค
               จะมีฝนตกมากกว่าจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของภาค ปัจจัยที่ส่งผลต่อลักษณะอากาศของภาคใต้มี

               หลากหลายปัจจัย แต่สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ
               เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม 3 ทิศทาง ได้แก่
                            1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากมหาสมุทรอินเดียและทะเล
               อันดามันเข้ามายังแผ่นดิน ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่ง

               ทะเลด้านตะวันตกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก
                            2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพาเอาไอน้ำและความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าว
               ไทยเข้ามายังแผ่นดินในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกทางแถบชายฝั่งทะเล
               ด้านตะวันออกก่อนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18