Page 9 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 9

บทที่ 1
                                                             บทนำ


                  1.1 หลักการและเหตุผล
                      การชะล้างพังทลายของดิน (Soil Erosion) คือ กระบวนการที่ดินถูกชะล้างกัดเซาะพังทลายด้วยพลังงาน

                  ที่เกิดจากน้ำ ลม หรือโดยเหตุอื่นใดให้เกิดการเสื่อมโทรม สูญเสียเนื้อดิน หรือความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                  (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) ซึ่งสถานการณ์การชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะ
                  ในพื้นที่สูงหรือภูเขา  มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น
                  การแผ้วถางป่า การทำถนน การทำเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  โดยขาดการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น การชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น
                  อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสภาพตามธรรมชาติ และเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เป็นปัจจัยเร่งให้เกิด
                  การชะล้างพังทลายของดิน เมื่อผิวหน้าดินไม่มีสิ่งปกคลุมทำให้ได้รับผลกระทบจากแสงแดด น้ำ และลม
                  โดยตรง การกัดเซาะและพัดพายิ่งจะเกิดได้เร็วขึ้น  เกิดการสูญเสียดิน โครงสร้างดินเสื่อมโทรม ดินขาดความ

                  อุดมสมบูรณ์ และส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตพืช
                      กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผน
                  การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และสนับสนุนงานด้านวางแผนการใช้ที่ดิน มีการจัดทำฐานข้อมูลในรูปแบบ
                  รายงานและแผนที่ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                  และข้อมูลสำรวจระยะไกลมาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตร
                  คำนวณปริมาณการสูญเสียดินจากสมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation : USLE) ของ
                  Wischmier and Smith (1978) ปัจจุบันฐานข้อมูลที่ใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดินได้มีการ

                  ปรับปรุงให้มีความละเอียดและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อ
                  ปริมาณน้ำฝนและค่าปัจจัยการกัดกร่อนของฝน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการชะล้างพังทลายของดินทำให้มีแนวโน้ม
                  เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต และการใช้ที่ดินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง
                  แผนที่การชะล้างพังทลายของดินให้เป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เกษตรต่อไป

                  1.2 วัตถุประสงค์

                      1.2.1 เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลสำรวจระยะไกลในการปรับปรุงข้อมูล
                  การชะล้างพังทลายของดิน
                      1.2.2 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการสูญเสียหน้าดิน

                  1.3 ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินงาน
                      ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เพื่อประเมินพื้นที่เกิดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขต

                  ป่าไม้ตามกฎหมาย ในเขตภาคใต้ เนื้อที่ 44,196,993 ไร่ ครอบคลุม 14 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดชุมพร
                  จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา
                  จังหวัดนราธิวาส จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล โดย
                  ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลข้อมูลพื้นที่เสี่ยงต่อการ

                  ชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่การเกษตร โดยใช้วิธีการศึกษาและคำนวณปริมาณการสูญเสียดินจากสมการ
                  การสูญเสียดินสากล โดยระยะเวลาในการดำเนินการ 1 ปี เริ่มต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 สิ้นสุดเดือน
                  กันยายน พ.ศ. 2566
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14