Page 10 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 10

2



                  1.4 ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
                      1.4.1 อุปกรณ์

                            1) ระบบ Hardware และ Software ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                            2) ฐานข้อมูลทั่วไปและฐานข้อมูลในระบบดิจิตอลครอบคลุมพื้นที่ศึกษา
                               - ข้อมูลขอบเขตการปกครอง สำนักเทคโนโลยีการสำรวจและทำแผนที่ กรมพัฒนาที่ดิน

                               - ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 30 ปี (พ.ศ.2535-2565) กรมอุตุนิยมวิทยา
                               - แผนที่ชุดดิน มาตราส่วน 1:25,000 กรมพัฒนาที่ดิน

                               - ข้อมูลสถานภาพทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศไทย กรมพัฒนาที่ดิน
                               - ข้อมูลธรณีวิทยาของประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี

                               - ข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) ขนาดความละเอียด 30 เมตร
                               - แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 กรมพัฒนาที่ดิน

                               - ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้ (นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย)
                            3) เครื่องแสดงพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS)
                            4) เครื่องพิมพ์แผนที่สี

                      1.4.2 วิธีการ
                            1) ตรวจสอบเอกสารและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชะล้างพังทลายของดิน ทั้งในรูปแบบ

                  แผนที่ และรายงาน
                            2) นำเข้าข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ให้อยู่ในรูปแบบ Digital Data
                            3) ประเมินค่าการสูญเสียดินโดยใช้วิธีการศึกษาจากสมการการสูญเสียดินสากล (Universal
                  Soil Loss Equation : USLE) คำนวณค่าการสูญเสียดินเป็นวิธีการที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา
                  เป็นระยะเวลานาน และกรมพัฒนาที่ดินได้นำวิธีการนี้มาศึกษาเพื่อใช้ในการประเมินการชะล้างพังทลายของดิน

                  ดังนี้
                                   A = RKLSCP

                            เมื่อ   A  คือ ค่าเฉลี่ยปริมาณการสูญเสียดินต่อหน่วยพื้นที่ (Soil Loss)

                                   R  คือ ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน (Rainfall and runoff erosivity factor)
                                   K  คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการสูญเสียดิน (Soil erodibility factor)

                                   L  คือ ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท Slope length factor)

                                   S  คือ ค่าปัจจัยความชัน (Slope steepness factor)
                                   C  คือ ค่าปัจจัยการจัดการพืช (Crop management factor)

                                   P  คือ ค่าปัจจัยการป้องกันการพังทลายของดน (Conservation practice factor)
                                                                         ิ
                            4) คำนวณค่าการสูญเสียดิน โดยใช้วิธีการประเมินค่าปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัย นำมาใช้คำนวณค่าปริมาณ
                  การสูญเสียดิน โดยใช้เทคนิคสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ช่วยในการจัดการข้อมูล และทำแผนที่ตามแบบจำลอง
                  คณิตศาสตร์ของสมการการสูญเสียดินสากล คำนวณโดยนำค่าแต่ละปัจจัยมาคูณกัน ผลที่ได้เป็นค่าปริมาณ

                  การสูญเสียดิน หน่วยเป็นตันต่อเฮกแตร์ต่อปี แปลงค่าเป็นตันต่อไร่ต่อปี แล้วจัดชั้นระดับการสูญเสียดิน
                  เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน จำแนกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15