Page 17 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 17

8



               ไม่ค่อยเว้าแหว่งมาก ลักษณะนี้เห็นได้ชัดบริเวณฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช
               ตั้งแต่แหลมตะลุมพุกลงมาจนถึงจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณที่เกิดเป็นแอ่งมีน้ำขังอยู่ในระหว่างเนินทราย

               ที่เรียกว่า พรุ มีการใช้ประโยชน์ที่ดินน้อย บริเวณริมทะเลจังหวัดพัทลุงต่อกับจังหวัดสงขลา เกิดเป็นทะเลสาบ
               ลำปำและทะเลสาบสงขลา
                         2) ชายฝั่งแบบจม (Submerged Shoreline) เป็นชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นจากการที่เปลือกโลก
               ในบริเวณริมฝั่งทะเลยุบจมลงหรือการที่น้ำทะเลยกระดับขึ้นทำให้บริเวณที่เคยโผล่พ้นระดับน้ำทะเล

               ยกระดับขึ้น ทำให้บริเวณที่เคยโผล่พ้นระดับน้ำทะเลจมอยู่ใต้ผิวน้ำ ชายฝั่งทะเลประเภทนี้อาจมีลักษณะทั้งที่
               เป็นชายฝั่งที่เป็นที่ราบหรือความสูงต่ำของภูมิประเทศขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศเดิมก่อนที่จะยุบจม
               แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นหน้าผาชันไม่ค่อยมีที่ราบชายฝั่งและแนวชายฝั่งมีลักษณะเว้าแหว่ง มีอ่าวและเกิดเป็น
               เกาะจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีลักษณะของชายฝั่งที่เว้าเป็นช่องไปยังปากแม่น้ำ ชายฝั่งทะเลของไทย

               ที่มีลักษณะการเกิดเช่นนี้ คือ บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกแถบจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต
               จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล การยุบตัวของชายฝั่งบริเวณนี้ทำให้น้ำทะเลไหลท่วมเข้ามา เช่น
               บริเวณอ่าวพังงา ซึ่งภายในอ่าวมีเกาะขนาดเล็กตั้งเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมากเกาะเหล่านี้ก็คือส่วนยอด
               ของภูเขาหินปูนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมานั้นเอง (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2566)
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22