Page 16 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 16

7



               2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
                    ลักษณะเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเลเรียกว่า คาบสมุทรมลายู เริ่มจากบริเวณคอคอดกระ ที่ยื่นยาวลงไป

               ทางใต้ จนถึงประเทศมาเลเซีย บริเวณจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนองที่เป็นบริเวณของคอคอดกระเป็นส่วนที่
               แคบที่สุดของคาบสมุทร กว้างประมาณ 64 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลขนาบอยู่สองด้าน คือ ฝั่งทะเลอ่าวไทยและ
               ฝั่งทะเลอันดามัน ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วย
                    2.3.1 ภูมิประเทศเขตภูเขา

                         ภาคใต้มีเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงไปทางทิศใต้ มีลักษณะแคบและเรียววางตัวไปในแนวเดียวกันกับ
               รอยเลื่อนระนองจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกไปยังชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก โดยมีส่วนที่แคบที่สุด
               ของคาบสมุทรที่เรียกว่า คอคอดกระ ซึ่งกว้างประมาณ 64 กิโลเมตร เทือกเขาสูงที่ทอดยาวเหนือ-ใต้ ทำให้เกิด
               พื้นที่ลาดเอียงจากตอนกลางลงสู่ชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่

                         1) เทือกเขาตะนาวศรี ทางเหนือเริ่มตั้งแต่ช่องเจดีย์สามองค์ ทอดตัวยาวลงไปทางใต้จรด
               บริเวณจังหวัดชุมพร
                         2) เทือกเขาภูเก็ตทิวเขาภูเก็ต จากปลายสุดของทิวเขาตะนาวศรี บริเวณอำเภอกระบุรี
               จังหวัดระนอง พาดผ่านลงไปทางใต้ เป็นแนวเขตจังหวัดระนองกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดพังงา

               กระบี่กับสุราษฎร์ธานี จากนั้นผ่านเข้าไปจังหวัดกระบี่ และทอดตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือบรรจบ
               กับทิวเขานครศรีธรรมราช บริเวณอำเภอทุ่งสง-ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความยาว 517
               กิโลเมตร มียอดเขาที่สูงที่สุดเรียกว่า เขาหลังคาตึก สูง 1,395 เมตร เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหลายสาย

               อาทิ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำไชยา แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำฉางและแม่น้ำตาปี
                         3) เทือกเขานครศรีธรรมราช เป็นแนวเทือกเขาต่อจากเทือกเขาภูเก็ต จุดเริ่มต้นบริเวณอำเภอ
               ท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทอดยาวลงมาทางทิศใต้ผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช ไปบรรจบที่เขาชีนา
               จังหวัดสตูล ความยาวของเทือกเขาประมาณ 319 กิโลเมตร เทือกเขานครศรีธรรมราช พบยอดเขาที่สูง
               ที่สุด คือ ยอดเขาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร เป็นพื้นที่

               ต้นน้ำลำธารหลายสาย อาทิ แม่น้ำปากพนังและแม่น้ำตรัง
                         4) เทือกเขาสันกาลาคีรี เป็นแนวเทือกเขาพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและ
               ประเทศมาเลเซียในพื้นที่บริเวณเขาชีนา ที่บรรจบกับเทือกเขานครศรีธรรมราช ในพื้นที่ชายฝั่งทะเล

               อันดามัน ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสตูล จังหวัดสงขลา และจังหวัดยะลา พาดผ่านไปทางทิศตะวันออก
               ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาหลวง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,535 เมตร
               ความยาวของเทือกเขารวมประมาณ 428 กิโลเมตร และเป็นพื้นที่ของต้นน้ำลำธารหลายสาย อาทิ
               แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำโก-ลกและคลองอู่ตะเภา (วิชญ์, 2560)

                    2.3.2 ภูมิประเทศบริเวณที่ราบชายฝั่งคาบสมุทร
                         ภาคใต้มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบระหว่างหุบเขาและลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย พบอยู่ทั่วไปและ
               พบมากบริเวณตอนกลางของภาค ซึ่งระดับความสูงจะค่อย ๆ ลดลงและลาดต่ำลงสู่ทะเล มีลักษณะเป็น
               คาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ ตะวันออกด้านอ่าวไทย และตะวันตกด้านทะเล

               อันดามัน ลักษณะชายฝั่งทะเลบริเวณนี้มีความแตกต่างกัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
                         1) ชายฝั่งทะเลแบบยกตัวขึ้น (Emerged Shoreline) เกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
               ด้านตะวันออก เป็นชายฝั่งทะเลที่เกิดจากการที่เปลือกโลกยกตัวขึ้นหรือน้ำทะเลลดระดับลง ทำให้บริเวณ
               ที่เคยจมอยู่ใต้ทะเลโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมา ถ้าหากแผ่นดินเดิมที่เคยจมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลเป็นบริเวณที่มีตะกอน

               กรวดทราย ตกทับถมกันมาเป็นเวลานานจะทำให้เกิดที่ราบชายฝั่งที่มีบริเวณกว้าง และมีแนวชายฝั่งเรียบตรง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21