Page 98 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 98

88



                     4.2.3  การวิเคราะห์ภัยแล้งจากสถิติการเกิดความแห้งแล้ง  เป็นการหาความน่าจะเป็นของการเกิด

               ความแห้งแล้งในอนาคตโดยวิเคราะห์จากพื้นที่ประสบความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อดูความน่าจะเป็นของ
               การเกิดความแห้งแล้งในอนาคต กล่าวคือ พื้นที่ที่เกิดความแห้งแล้งเป็นประจ าจะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะ

               ประสบความแห้งแล้งสูง ซึ่งสถิติการเกิดความแห้งแล้ง จะท าการวิเคราะห์ค่าดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์

               แมลไลซ์ (Normalized Difference in Vegetative Index : NDVI) ที่แสดงถึงสิ่งปกคลุมดิน พื้นที่สีเขียวของ
               พืชพรรณ ร่วมกับค่าอุณหภูมิพื้นผิว (land Surface Temperature : LST) ที่แสดงถึงค่าอุณหภูมิพื้นผิวที่มี

               และไม่มีพืชปกคลุม ซึ่งค่าอุณหภูมิพื้นผิวนี้จะมีความสัมพันธ์กับค่าการคายระเหยน้ าของพืช จากการวิเคราะห์
               สถิติการเกิดความแห้งแล้งในรอบ 10  ปี (พ.ศ.2548  ถึง พ.ศ. 2557)  สามารถจ าแนกพื้นที่ประสบความแห้ง

               แล้งออกเป็น 3 ระดับ คือ (ตารางที่ 19 และ ภาพที่ 20)
                           1)  พื้นที่ประสบความแห้งแล้งเป็นประจ า ได้แก่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้งมากกว่า 5 ครั้งใน

               รอบ10  ปี (พ.ศ.2548  ถึง พ.ศ. 2557) เนื้อที่ 56,994,593  ไร่ ส่วนมากจะอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร และ อุดรธานี
                           2)  พื้นที่ประสบความแห้งแล้งบ่อยครั้ง ได้แก่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้ง 4-5 ครั้งในรอบ10

               ปี (พ.ศ.2548  ถึง พ.ศ. 2557) เนื้อที่ 84,722,363  ไร่  ส่วนมากจะอยู่บริเวณจังหวัด นครราชสีมา บุรีรัมย์

               นครสวรรค์ เชียงใหม่ และ สุรินทร์
                           3)  พื้นที่ประสบความแห้งแล้งเป็นครั้งคราว ได้แก่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้งน้อยกว่า 4

               ครั้งในรอบ10 ปี (พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ. 2557) เนื้อที่ 107,919,551 ไร่ ส่วนมากจะอยู่บริเวณจังหวัดเชียงใหม่
               นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เชียงราย และ พิษณุโลก

                           พื้นที่ประสบความแห้งแล้ง  ที่ได้จากการวิเคราะห์สถิติการเกิดความแห้งแล้งนั้น ในการคาดการณ์
               พื้นที่ที่จะเกิดความแห้งแล้ง จะถือว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดความแห้งแล้งได้ในอนาคต


               ตารางที่ 19 สถิติการเกิดความแห้งแล้งในรอบ 10 ปี ระหว่าง พ.ศ.2548 ถึง พ.ศ. 2557

                       ภาค              จังหวัด                            เนื้อที่ (ไร่)

                                                       ครั้งคราว     บ่อยครั้ง   เป็นประจ่า       รวม
                ภาคเหนือ            เชียงใหม่           4,113,435  3,425,392        875,303     8,414,130

                                    เชียงราย            3,857,480  1,317,771        102,444     5,277,695
                                    เพชรบูรณ์           2,571,952  2,950,290  1,003,761         6,526,003

                                    แพร่                1,678,184  1,169,570         91,555     2,939,309

                                    แม่ฮ่องสอน          2,709,235  1,811,741         68,153     4,589,129
                                    ก าแพงเพชร          1,535,898  2,185,232  1,120,892         4,842,022

                                    ตาก                 2,501,760  2,058,640  2,042,965         6,603,365
                                    นครสวรรค์           1,878,221  3,644,691        305,692     5,828,604

                                    น่าน                3,177,525  1,071,909         72,217     4,321,651

                                    พะเยา                 868,795  1,265,359        501,318     2,635,472
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103