Page 103 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 103

93



               4.3  การคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะประสบความแห้งแล้ง

                     จากการวิเคราะห์แผนที่เสี่ยงภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาที่ ด้านกายภาพ และ สถิติการเกิดความแห้งแล้ง เพื่อ
               น ามาประมวลผลหาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ทั้ง 3 ปัจจัย เพื่อคาดการณ์ความแห้งแล้งล่วงหน้าในพื้นที่ท าการเกษตร

               ซึ่งการคาดการณ์เป็นการคาดการณ์ว่าในช่วงสิ้นฤดูฝน กลางเดือนตุลาคม จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม

               ของปีถัดไป พื้นที่ท าการเกษตรบริเวณใดมีโอกาสที่จะเกิดความแห้งแล้ง ซึ่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกใน
               พื้นที่นั้นๆ

                     จากการวิเคราะห์พื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อความต้องการในการท า
               การเกษตร เพื่อก าหนดพื้นที่เกษตรที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งนั้น สามารถแบ่งโอกาสการเกิดความแห้งแล้ง

               ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
                     1)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง  หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยแวดล้อมไม่เพียงพอต่อการ

               เพาะปลูก  เมื่อท าการเพาะปลูกแล้วพืชนั้นตายได้

                     2)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยแวดล้อมไม่เพียงพอต่อ
               การเพาะปลูกตลอดอายุการเพาะปลูก  พืชเกิดการเหี่ยวเฉา ไม่ให้ผลผลิต หรือ ผลผลิตลดลง

                     3)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งน้อย หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่สภาพความแห้งแล้งไม่รุนแรง มี

               ผลกระทบน้อยต่อการเจริญเติบโต และ ผลผลิต
                     จากการวิเคราะห์พื้นที่เพื่อคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะประสบความแห้งแล้งในช่วงสิ้นฤดูฝน  กลางเดือน

               ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 พบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีโอกาสเกิด
               ความแห้งแล้ง ดังนี้ (ตารางที่ 20 และ ภาพที่ 21)

                     1) พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง คิดเป็นเนื้อที่ 2,111,672   ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง 5 อันดับแรก ได้แก่ ในพื้นที่

               จังหวัดหนองบัวล าภู ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น และสกลนคร

                     2)  มีพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง คิดเป็นเนื้อที่ 14,064,740  ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง 5 อันดับแรก ได้แก่

               จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ และนครสวรรค์
                     3) มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งน้อย คิดเป็นเนื้อที่ 15,632,103     ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งน้อย 5  อันดับแรก ได้แก่

               จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครราชสีมา นครพนม และขอนแก่น
                     จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งในช่วงกลางเดือน

               ตุลาคม พ.ศ. 2557  ถึง กลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558   พบว่า พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ พื้นที่ที่มี
               โอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง และ พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

               และจ าเป็นต้องเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น เพื่อก าหนดมาตรการช่วยบรรเทา และลดผลกระทบจาก

               สถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งคิดเป็น
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108