Page 33 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 33
24
ยะลา จังหวัดยะลา และไหลผ่านจังหวัดปัตตานีที่อ าเภอยะรัง จนกระทั่งออกสู่อ่าวไทย ที่อ าเภอเมืองปัตตานี
จังหวัดปัตตานี มีความยาวตลอดล าน้ าประมาณ 120 กิโลเมตร
แม่น้ าสายบุรี ต้นน้ าเกิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรีระหว่างเขาคุลากาโอกับเขาตาโบ้ใน
อ าเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ไหลขึ้นไปทางเหนือผ่านอ าเภอศรีสาคร อ าเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส และ
ไหลผ่านเข้าไปในเขตอ าเภอรามัน จังหวัดยะลา และไหลลงสู่อ่าวไทยที่อ าเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี มีความ
ยาวตลอดล าน้ าประมาณ 186 กิโลเมตร
2) แหล่งหรือแอ่งน้ าบาดาล เนื่องจากแหล่งน้ าบาดาลแต่ละชนิดแต่ละแห่งมีความแตกต่าง
กันตามสภาพโครงสร้างและลักษณะทางธรณีวิทยาซึ่งเป็นตัวการส าคัญอันหนึ่งที่จะควบคุมการเกิดการแผ่
กระจาย และปริมาณน้ าที่ถูกเก็บอยู่ในแหล่งน้ าบาดาล ปริมาณน้ าที่สามารถสูบขึ้นมาใช้ได้ ตลอดจนคุณภาพ
น้ า แหล่งน้ าบาดาลของประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1) แหล่งน้ าบาดาลในกลุ่มหินอุ้มน้ าประเภทร่วน ซึ่งเรียกว่า แอ่งน้ าบาดาล
(groundwater basin) น้ าบาดาลในตะกอนหินร่วนนับเป็นแหล่งน้ าบาดาลที่ส าคัญหรือประมาณร้อยละ 90
ของแหล่งน้ าบาดาลที่พัฒนาขึ้นมาใช้ได้ เช่น บริเวณที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และแอ่งเชียงใหม่-ล าพูน เป็นต้น
ตะกอนหินร่วนของประเทศไทยมีหลายอายุตั้งแต่ยุคปัจจุบัน ยุค Pleistocene และ ยุค Tertiary มีการก าเนิด
หลายรูปแบบ ท าให้คุณสมบัติการกักเก็บและการให้น้ าบาดาลแตกต่างกันออกไป
(2) แหล่งน้ าบาดาลในกลุ่มหินอุ้มน้ าประเภทหินแข็ง (groundwater in rock source
area) คุณสมบัติการกักเก็บน้ า บาดาลในชั้นหินแข็งขึ้นกับอยู่อิทธิพลความพรุนทุติยภูมิในเนื้อหิน เช่น โพรงของ
หินปูนใต้ดิน รอยแตกในชั้นหินอันเกิดจากแนวรอยเลื่อนของหิน (fault zones) ระบบรอยแตกอันเกิดจากการปริใน
ชั้นหิน (jointing systems) รอยแตกที่เกิดจากการโค้งงอของชั้นหิน (folding) หรือรอยแตกที่เกิดจากการหดตัว
(shrinkage cracks) ดังนั้นในหินแต่ละชนิดย่อมมีแนวรอยแตกในรูปแบบที่แตกต่างกัน หน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยา
ที่กักเก็บน้ าบาดาลในหินแข็งที่พบในประเทศไทยมีหลายยุคตั้งแต่ปลายยุค Tertiary ไปจนถึงยุค Pre-Cambrian บ่อ
น้ าบาดาลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ที่เจาะและพัฒนาน้ าบาดาลจากชั้นหินแข็ง
ส าหรับหน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยาต่างๆ ทั้งในกลุ่มหินอุ้มน้ าประเภทหินร่วนและกลุ่ม
หินอุ้มน้ าประเภทหินแข็งของประเทศไทย ได้สรุปไว้ในตารางที่ 6 และ ตารางที่ 7 ตามล าดับ
แหล่งหรือแอ่งน้ าบาดาลที่ส าคัญของประเทศไทยตามการแบ่งแอ่งน ้าบาดาลของกรม
ทรัพยากรน ้าบาดาล มีจ านวน 27 แอ่ง แต่ละแอ่งจะมีสภาพทางอุทกธรณีวิทยาที่แตกต่างกัน คาดการณ์ว่า
ปริมาณน้ าบาดาลในประเทศไทยมีจ านวน 32,761.78 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่หากจะพัฒนากลับขึ้นมาใช้โดย
ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงก าหนดให้สามารถพัฒนาน ากลับมาใช้ได้ 3,175 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
โดยแอ่งน้ าบาดาลส าคัญ 3 อันดับแรก คือ 1) แอ่งเจ้าพระยา (เหนือ และใต้) จ านวน 2,576 ล้านลูกบาศก์
เมตรต่อปี 2) แอ่งเชียงใหม่/ล าพูน จ านวน 97 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี 3) แอ่งนครศรีธรรมราช จ านวน 84
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี