Page 32 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 32

23



                                     แม่น้ านครนายก ต้นน้ าเกิดจากเขาอินทนินในอ าเภอเมืองนครนายก ไหลผ่านจังหวัด
               นครนายกลงสู่แม่น้ าบางปะกงบริเวณที่เขตสามจังหวัดติดต่อกัน  คือ  จังหวัดนครนายก  ปราจีนบุรีและ

               ฉะเชิงเทรา
                                (4)  แหล่งน้ าในภาคตะวันออก มีแม่น้ าที่ส าคัญ คือ
                                     แม่น้ าบางปะกง  ต้นก าเนิดจากแม่น้ าหนุมานและแม่น้ าพระปรง  ไหลมารวมกันที่
               อ าเภอกบินทร์บุรี  จังหวัดปราจีนบุรี  ในตอนนี้เรียกว่าแม่น้ าปราจีนบุรี  และเมื่อผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราจึง

               เรียกว่าแม่น้ าบางปะกง ไหลไปสู่อ่าวไทยที่อ าเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
                                     แม่น้ าประแสร์ ต้นน้ า เกิดจากเขาสอยดาว อ าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรีไหลไปทาง
               ทิศตะวันตกเฉียงใต้ลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดระยอง
                                     แม่น้ าระยอง ต้นน้ าเกิดจากเขาเรือแตก อ าเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ไหลผ่านเข้าไป

               ในเขตจังหวัดระยอง ผ่านอ าเภอบ้านค่าย ลงสู่อ่าวไทยที่อ าเภอเมืองระยอง
                                (5)  แหล่งน้ าในภาคใต้ จากลักษณะภูมิประเทศที่มีทิวเขาอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และมีที่ราบ
               ใกล้ทะเลเป็นแห่งๆ ทั้งทางด้านตะวันออกและทางด้านตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรี โดยมีที่ราบลุ่มใหญ่อยู่ใน
               เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราชบางส่วน  ทางด้านตะวันออก  มีความลาดชันน้อยกว่า

               ทางด้านตะวันตกอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล โดยทิวเขาเหล่านี้จะเป็น
               แหล่งก าเนิดของแม่น้ าล าธารทั้งสายใหญ่และสายสั้นๆ คือ
                                     แม่น้ าท่าตะเภา  ต้นน้ าเกิดจากคลองท่าแซะและคลองรับร่อไหลมารวมกันในเขต

               อ าเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร คลองท่าแซะนั้นต้นน้ าอยู่ในเขตอ าเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่วน
               คลองรับร่อนั้นเกิดจากทิวเขาตะนาวศรี แม่น้ าท่าตะเภาไหลผ่านจังหวัดชุมพรไปสู่อ่าวไทย
                                     แม่น้ ากระบุรี  หรือบางแห่งเรียกว่า  แม่น้ าปากจั่น  ต้นน้ าเกิดจากคลองหั่นกะเดียง
               และคลองกระเนย  ไหลมารวมกันในเขตอ าเภอกระบุรี  จังหวัดระนอง  และไหลไปลงทะเลอันดามันในเขต
               อ าเภอเมืองระนอง แม่น้ าสายนี้เป็นเส้นแบ่งเขตพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่าด้วย

                                     แม่น้ าหลังสวน  ต้นน้ าเกิดจากภูเขาในอ าเภอกะเปอร์  จังหวัดระนอง  ไหลไปสู่อ่าว
               ไทยที่อ าเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
                                     แม่น้ าคีรีรัฐ  ต้นก าเนิดจากเขานมสาวกับเขาสก  เขตอ าเภอคีรีรัฐนิคม  จังหวัดสุ

               ราษฎร์ธานี และไหลไปลงแม่น้ าตาปีทางฝั่งซ้ายทางทิศตะวันตกของอ าเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ า
               คีรีรัฐนี้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า แม่น้ าพุมดวง
                                     แม่น้ าตาปี ต้นน้ าเกิดจากเขาใหญ่หรือเขาหลวงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาบรรทัด
               ในอ าเภอทุ่งใหญ่  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผ่านอ าเภอฉวางเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีแม่น้ าคีรีรัฐไหลมา

               บรรจบและไหลลงสู่อ่าวไทยที่อ าเภอเมืองสุราษฎร์ธานี แม่น้ านี้เดิมเรียกว่าแม่น้ าหลวงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็น
               แม่น้ าตาปี เมื่อตั้งจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใน ปี พ.ศ.2485 และตอนที่แม่น้ านี้จะไหลออกสู่ทะเลเรียกกันว่า แม่น้ า
               บ้านดอน
                                     แม่น้ าตรัง   ต้นน้ าเกิดจากเทือกเขาบรรทัดในเขตอ าเภอทุ่งสง   จังหวัด

               นครศรีธรรมราชและเทือกเขาบางส่วนในเขตจังหวัดกระบี่  ไหลผ่านเข้าสู่จังหวัดตรังลงสู่ทะเลในเขตอ าเภอ
               กันตังอันเป็นเมืองท่าเรือที่ส าคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ มีความยาวตลอดล าน้ าประมาณ 123 กิโลเมตร
                                     แม่น้ าปัตตานี  ต้นน้ าอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรีกั้นพรมแดนไทยกับสหพันธรัฐ
               มาเลเซียในเขตอ าเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นแม่น้ าที่ไหลผ่านอ าเภอธารโต อ าเภอบันนังสตา และอ าเภอเมือง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37