Page 30 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 30
21
น้ าแม่อิง ต้นน้ าเกิดในอ าเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และเกิดบริเวณบึงใหญ่หรือ
เรียกว่า กว๊านพะเยา จากบึงนี้น้ าแม่อิงไหลผ่านไปทางตะวันออกเฉียงเหนือผ่านอ าเภอเทิงไปลงแม่น้ าโขงที่
อ าเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
แม่น้ าปิง ต้นน้ าเกิดจากเทือกเขาตอนเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ไหลลงมาทางใต้ผ่าน
อ าเภอเชียงดาวบรรจบกับน้ าแม่งัดทางตอนเหนือของอ าเภอสันทราย และไหลรวมกันลงมาบรรจบกับแม่น้ าแม่แตง
ซึ่งมีต้นก าเนิดมาจากเทือกเขาเดียวกันทางทิศตะวันตกของอ าเภอแม่แตง แล้วไหลลงมาทางใต้มาบรรจบกับน้ า
แม่กวง ต่อจากนั้นแม่น้ าปิงเริ่มเบนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้บรรจบกับน้ าแม่ขานทางฝั่งขวาและไปบรรจบกับ
น้ าแม่ลี้ทางฝั่งซ้ายที่อ าเภอจอมทอง ต่อจากนั้นแม่น้ าปิงเริ่มเบนตัวลงมาทางใต้อีกครั้งหนึ่งไปบรรจบกับน้ าแม่
แจ่มในเขตอ าเภอฮอด และแม่น้ าปิงก็เริ่มไหลเข้าสู่ซอกเขาสูงผ่านมาในจังหวัดตากบรรจบกับน้ าแม่ตื่น ซึ่งต้น
น้ ามีก าเนิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตกของอ าเภออมก๋อยและทางใต้ที่ต าบลบ้านนา อ าเภอสามเงา จังหวัด
ตาก โดยมีเขื่อนภูมิพลกั้นขวางล าน้ า แล้วแม่น้ าปิงก็ไหลมาบรรจบกับแม่น้ าน่านที่จังหวัดนครสวรรค์ และ
ก าเนิดเป็นแม่น้ าเจ้าพระยา แม่น้ าปิงมีความยาวประมาณ 600 กิโลเมตร
แม่น้ าวัง มีแหล่งก าเนิดบนเทือกเขาผีปันน้ าและเทือกเขาขุนตาลในเขตจังหวัดล าปาง
ไหลผ่านอ าเภอแจ้ห่ม อ าเภอเมืองล าปาง อ าเภอเถิน จังหวัดล าปาง ไปสู่ที่ราบจังหวัดตากและเข้ารวมกับแม่น้ า
ปิงที่อ าเภอบ้านตาก แม่น้ าวังมีความยาวประมาณ 300 กิโลเมตร และไม่มีล าน้ าสาขาขนาดใหญ่เช่นแม่น้ าปิง
แต่มีห้วยที่นับว่าใหญ่ส าหรับแม่น้ าวังก็คือ น้ าแม่ตุ๋ยและน้ าแม่จางซึ่งไหลมารวมกับแม่น้ าวังที่บริเวณอ าเภอ
เกาะคา จังหวัดล าปาง
แม่น้ ายม มีแหล่งก าเนิดจากเทือกเขาในเขตอ าเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลมาบรรจบ
กับน้ าแม่งาวในเขตอ าเภอสอง บริเวณที่ทางหลวงสายอ าเภอร้องกวาง-อ าเภองาว ตัดผ่านแล้วไหลลงมาทางใต้
ผ่านที่ราบจังหวัดแพร่ ผ่านซอกเขาในเขตอ าเภอลอง มาออกที่ราบของจังหวัดสุโขทัย ที่อ าเภอศรีสัชนาลัย
อ าเภอสวรรคโลก อ าเภอเมืองสุโขทัย อ าเภอกงไกรลาศ และไหลผ่านเข้ามาในเขตจังหวัดพิษณุโลกที่อ าเภอ
บางระก า ไปบรรจบกับแม่น้ าน่านที่อ าเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 530
กิโลเมตร
แม่น้ าน่าน มีแหล่งก าเนิดจากเทือกเขาตอนเหนือของจังหวัดน่านและไหลลงใต้ผ่านที่
ราบผืนแคบๆ ของจังหวัดน่าน แล้วไหลผ่านซอกเขาลงมาทางใต้จนถึงอ าเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้น
แม่น้ าน่านเริ่มเบนตัวไปทางทิศตะวันตก ออกสู่ที่ราบจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร มาบรรจบกับแม่น้ ายม
ที่อ าเภอชุมแสง แล้วไหลเข้ารวมกับแม่น้ าปิงไหลลงสู่แม่น้ าเจ้าพระยาที่จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ าน่านมีความ
ยาวประมาณ 615 กิโลเมตร
(2) แหล่งน้ าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแม่น้ าที่ส าคัญ คือ
แม่น้ าโขง เป็นแม่น้ าที่มีต้นก าเนิดจากทิเบต บางส่วนจึงมาเป็นพรมแดนของประเทศ
ไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางตะวันออกของประเทศ เป็นแม่น้ าที่มีสาขาที่เกิดจากแม่น้ า
ในประเทศหลายสายทั้งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ แม่น้ ามูล แม่น้ าชี และแม่น้ าสงคราม
แม่น้ ามูล ต้นน้ าเกิดจากเทือกเขาสันก าแพงในเขตอ าเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
ออกสู่แม่น้ าโขงที่บ้านด่าน ต าบลบ้านด่าน อ าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ฤดูฝนน้ าจะเอ่อท่วมที่ราบริมฝั่ง
แม่น้ า ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การท านา มีความยาวประมาณ 641 กิโลเมตร เป็นแม่น้ าสายส าคัญของอีสานตอนล่าง
แม่น้ าชี ต้นน้ าเกิดจากเทือกเขาพญาฝ่อในเทือกเขาเพชรบูรณ์ทางตะวันตกเฉียง
เหนือของจังหวัดชัยภูมิ มีแม่น้ าสาขาที่ส าคัญ คือ ล าน้ าพอง ล าปาว และล าคันฉู แม่น้ าชี มีความยาวประมาณ
765 กิโลเมตร เป็นแม่น้ าสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย