Page 114 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 114

104



               บ่อยครั้ง ได้แก่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้ง 4-5  ครั้งในรอบ10  ปี เนื้อที่ 84,722,363  ไร่ และ พื้นที่ประสบ

               ความแห้งแล้งเป็นครั้งคราว ได้แก่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้งมากกว่า 5  ครั้งในรอบ10  ปี เนื้อที่
               107,919,551 ไร่

                     จากนั้นท าการประมวลผลหาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่าง พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา พื้นที่เสี่ยง
               ภัยแล้งด้านกายภาพ และ สถิติการเกิดความแห้งแล้ง เพื่อคาดการณ์พื้นที่ท าการเกษตรที่มีโอกาสเกิดภัยแล้งในช่วง
               สิ้นฤดูฝน กลางเดือนตุลาคม จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม ของปีถัดไป เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการการเตรียม

               ความพร้อม วางแผนป้องกัน ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในพื้นที่ที่มีโอกาส
               เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ท าการเกษตร นั้นๆ
                     พื้นที่เกษตรที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้ง หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่ปัจจัยแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อความ

               ต้องการในการท าการเกษตร จากการวิเคราะห์พื้นที่เพื่อคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะประสบความแห้งแล้งในช่วง
               สิ้นฤดูฝน  กลางเดือนตุลาคม  พ.ศ. 2557  จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม  พ.ศ. 2558 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3

               ระดับ คือ
                     1)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง  หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยแวดล้อมไม่เพียงพอต่อการ

               เพาะปลูก  เมื่อท าการเพาะปลูกแล้วพืชนั้นตายได้ มีเนื้อที่ 2,111,672 ไร่

                     2)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยแวดล้อมไม่เพียงพอ
               ต่อการเพาะปลูกตลอดอายุการเพาะปลูก  พืชเกิดการเหี่ยวเฉา ไม่ให้ผลผลิต หรือ ผลผลิตลดลง  มีเนื้อที่

               14,064,740 ไร่

                     3)  พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งน้อย หมายถึง พื้นที่ท าการเกษตรที่สภาพความแห้งแล้งไม่รุนแรง มี
               ผลกระทบน้อยต่อการเจริญเติบโต และ ผลผลิต เนื้อที่ 15,632,103 ไร่

                     จากการส ารวจพื้นที่เกษตรที่จะประสบความแห้งแล้งในช่วงกลางเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง กลางเดือน
               พฤษภาคม พ.ศ.2558 จ านวน 120 จุดส ารวจ ในพื้นที่ 30 จังหวัด พบว่า พื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่เป็นนา
               ข้าว และพืชไร่ ได้แก่ อ้อย มันส าปะหลัง และจากการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณี

               ฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใน พ.ศ. 2558 ช่วงภัยแล้งเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 – 30
               เมษายน  พ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งด้านการเกษตรจ านวน 36  จังหวัด  เมื่อ
               เปรียบเทียบรายชื่อจังหวัดที่ได้คาดการณ์พื้นที่ท าการเกษตรที่จะประสบปัญหาจากความแห้งแล้งในช่วงสิ้นฤดูฝน
               กลางเดือนตุลาคม  จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป พบว่า รายชื่อจังหวัดตรงกันจ านวน  35

               จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 60.34 ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ตาก ก าแพงเพชร แพร่ น่าน
               ล าปาง  อุตรดิตถ์  สกลนคร  ชัยภูมิ  มหาสารคาม  นครราชสีมา  บุรีรัมย์  ขอนแก่น  อ านาจเจริญ  กาฬสินธุ์
               สระแก้ว สุพรรณบุรี หนองบัวลาภู ลพบุรี นครสวรรค์ ชัยนาท จันทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี สระบุรี
               เพชรบุรี  ประจวบคีรีขันธ์  สตูล  ตรัง  กระบี่  และนครศรีธรรมราช  และมีรายชื่อจังหวัดไม่ตรงกับประกาศ

               จ านวน  23  จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 41.38  ได้แก่  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พะเยา เชียงราย เพชรบูรณ์
               แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ นครพนม บึงกาฬ เลย มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย
               อุดรธานี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ระยองและอุบลราชธานี  ทั้งนี้เนื่องจากการคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะประสบ
               ความแห้งแล้ง เป็นการคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นการคาดหมายระยะยาว ใช้เป็นข้อมูลส าหรับวางแผนเตรียม

               รับมือ อาจมีการคาดเคลื่อนได้ ซึ่งการคาดเคลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของสภาพอากาศ รวมถึงการน า
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119