Page 115 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 115

105



               มาตรการและแนวทางการจัดการพื้นที่ไปใช้เพื่อลดปัญหาของภัยแล้ง เช่น  การงดท านาปรัง เปลี่ยนเป็นการ
               ปลูกพืชใช้น้ าน้อย เช่น พืชผัก พืชปุ๋ยสดเพื่อการปรับปรุงบ ารุงดิน เป็นต้น

                     แนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้ง เป็นแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการลดโอกาสที่จะได้รับ
               ผลกระทบทางลบจากภัยแล้ง โดยการบริหารจัดการปัจจัยที่เป็นสาเหตุและผลกระทบของภัยแล้ง ดังนี้
                     1)  การเพิ่มปริมาณน้ าต้นทุนที่จะใช้ท าการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เป็นการลดความถี่และความรุนแรง
               ของภัยแล้ง ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติ การลดความถี่อาจท าได้ยาก แต่สามารถท าให้ความรุนแรงลดลงได้โดย

               ให้มีปริมาณน้ ามากขึ้น โดยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ าเพื่อเป็นแหล่งน้ าส ารองในฤดูแล้ง หรือในระยะฝนทิ้งช่วง
               ซึ่งแหล่งกักเก็บน้ าจะต้องค านึงถึงความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ
               สิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างอ่างเก็บกักน้ าขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ าขนาดกลาง อ่างเก็บน้ าขนาดเล็ก ฝายทดน้ า
               การขุดลอก คู คลอง หนองบึง ที่ตื้นเขิน ให้สามารถเก็บกักน้ าได้มากขึ้น และพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็กในไร่นา

               โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อให้เกษตรกรใช้เก็บกักน้ าไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้การสร้างถังเก็บ
               น้ าฝนส ารองรับน้ าฝนเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง เพื่อการอุปโภค และบริโภคได้อีกทาง
                     2)  งดหรือลดการเพาะปลูก เป็นการลดความล่อแหลม หรือสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยงภัยแล้ง
               จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งพบว่าพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ท าการเกษตรนอกเขตชลประทาน

               ดังนั้นกรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชที่เป็นพืชอายุปีเดียว เช่น ข้าว ข้าวโพด ถ้าไม่มีแหล่งน้ าส ารองควรงดการ
               เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ส่วนพืชที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ควรมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่ม
               ช่องว่างในดินท าให้ดินสามารถเก็บกักน้ าไว้ได้ ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นทุก 1  เปอร์เซ็นต์ จะช่วยเพิ่ม

               ความจุของน้ าที่เป็นประโยชน์ เพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังช่วยให้ดินมีโครงสร้างดีขึ้น มี
               ความร่วนซุย การซาบซึมของน้ าดีขึ้น จึงท าให้ดินสามารถเก็บกักน้ าไว้ได้มากขึ้น ส่วนในพื้นที่ท าการเกษตรใน
               เขตชลประทานโดยเฉพาะพื้นที่ท านาควรติดตามข่าวสารแนวทางการบริหารจัดการน้ าจากกรมชลประทานว่า
               มีปริมาณน้ าต้นทุนที่สามารถท านาได้หรือไม่
                     3)  การประหยัดน้ าในการท ากิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งเป็นการลดความเปราะบาง หรือลดปัจจัยที่

               ท าให้ขาดความสามารถในการรับมือกับภัยแล้ง เช่น การประหยัดน้ าในการท านาโดยการน าเทคนิคการท านา
               แบบเปียกสลับแห้ง การเปลี่ยนชนิดพืชที่จะเพาะปลูกจากพืชที่มีความต้องการใช้น้ าตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
               มาก เป็นปลูกพืชที่ต้องการใช้น้ าน้อยแทน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือ พืชผักแทนการท านา เป็นต้น

                     4)  สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในเรื่องของภัยแล้ง เป็นการเพิ่มศักยภาพ หรือ ขีดความสามารถในการ
               รับมือกับภัยแล้ง เช่น ให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งก่อนท าการเพาะปลูกในฤดูถัดไป มีการเฝ้าระวังและติดตาม
               สถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่เกิดสภาวะแห้งแล้ง  รวมถึงการรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ า เป็น
               การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดการสะสมน้ าในดิน และน้ าใต้ดิน รวมทั้งการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความชุ่ม

               ชื้นให้กับพื้นที่ ช่วยชะลอการไหลของน้ า ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ าเร็วและแรง

               5.2  ข้อเสนอแนะ
                     ในการการคาดการณ์ความแห้งแล้งในพื้นที่ท าการเกษตร  เพื่อเป็นประโยชน์ส าหรับใช้เป็นข้อมูลในการ
               จัดท าแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง และเพื่อความถูกต้องในการวิเคราะห์ต่อไป

               ควรมีการปรับปรุงดังต่อไปนี้

                     1)  เพื่อให้การคาดการณ์มีความถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ควรใช้ข้อมูลตัวแปรอื่นๆ ที่
               เกี่ยวข้อง และ เป็นข้อมูลที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรงของภัยแล้งรวมด้วย เช่น แผนการจัดสรรน้ าในเขต

               ชลประทาน ค่าดัชนีความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ความต้องการน้ าของพืชแต่ละช่วงอายุ เพราะถ้ามีการขาด
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120