Page 112 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 112

102



               4.5  แนวทางการจัดการพื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้ง
                     พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งเป็นพื้นที่ที่ท าการเกษตรที่มีปัจจัยในการผลิตไม่เพียงพอ โดยเฉพาะน้ าท า

               การเกษตร ซึ่งความต้องการน้ าเพื่อการเกษตรสูงถึง 106,169 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งในจ านวนนี้อยู่ในเขตที่มี
               แหล่งเก็บกักน้ า และระบบชลประทานอยู่แล้ว 45,054  ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนที่เหลืออีก 61,116  ล้าน
               ลูกบาศก์เมตร เป็นความต้องการน้ าเพื่อการเกษตรนอกเขตชลประทาน เป็นเขตอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก ดังนั้นจึง
               มีความจ าเป็นต้องพิจารณาการเก็บกักน้ าไว้ใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ดังนั้นการจัดการพื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้ง

               ควรมีแนวทาง ดังนี้
                     4.5.1  การเพิ่มปริมาณน้ าต้นทุนที่จะใช้ท าการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เป็นการลดความถี่และความ
               รุนแรงของภัยแล้ง ซึ่งภัยแล้งเป็นภัยธรรมชาติ การลดความถี่อาจท าได้ยาก แต่สามารถท าให้ความรุนแรง
               ลดลงได้โดยให้มีปริมาณน้ ามากขึ้น โดยการสร้างแหล่งกักเก็บน้ าเพื่อเป็นแหล่งน้ าส ารองในฤดูแล้ง หรือใน

               ระยะฝนทิ้งช่วง ซึ่งแหล่งกักเก็บน้ าจะต้องค านึงถึงความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจ
               สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างอ่างเก็บกักน้ าขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ าขนาดกลาง อ่างเก็บน้ าขนาดเล็ก
               ฝายทดน้ า การขุดลอก คู คลอง หนองบึง ที่ตื้นเขิน ให้สามารถเก็บกักน้ าได้มากขึ้น และพัฒนาแหล่งน้ าขนาด
               เล็กในไร่นา โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อให้เกษตรกรใช้เก็บกักน้ าไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้การ

               สร้างถังเก็บน้ าฝนส ารองรับน้ าฝนเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง เพื่อการอุปโภค และบริโภคได้อีกทาง
                     4.5.2  งดหรือลดการเพาะปลูก เป็นการลดความล่อแหลม หรือสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยงภัย
               แล้ง จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งพบว่าพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ท าการเกษตรนอกเขต

               ชลประทาน ดังนั้นกรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชที่เป็นพืชอายุปีเดียว เช่น ข้าว ข้าวโพด ถ้าไม่มีแหล่งน้ า
               ส ารองควรงดการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ส่วนพืชที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ควรมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อ
               เป็นการเพิ่มช่องว่างในดินท าให้ดินสามารถเก็บกักน้ าไว้ได้ ซึ่งปริมาณอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 เปอร์เซ็นต์ จะ
               ช่วยเพิ่มความจุของน้ าที่เป็นประโยชน์ เพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้อินทรียวัตถุยังช่วยให้ดินมีโครงสร้าง
               ดีขึ้น มีความร่วนซุย การซาบซึมของน้ าดีขึ้น จึงท าให้ดินสามารถเก็บกักน้ าไว้ได้มากขึ้น ส่วนในพื้นที่ท า

               การเกษตรในเขตชลประทานโดยเฉพาะพื้นที่ท านาควรติดตามข่าวสารแนวทางการบริหารจัดการน้ าจากกรม
               ชลประทานว่ามีปริมาณน้ าต้นทุนที่สามารถท านาได้หรือไม่
                     4.5.3  การประหยัดน้ าในการท ากิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งเป็นการลดความเปราะบาง หรือลดปัจจัย

               ที่ท าให้ขาดความสามารถในการรับมือกับภัยแล้ง เช่น การประหยัดน้ าในการท านาโดยการน าเทคนิคการท านา
               แบบเปียกสลับแห้ง การเปลี่ยนชนิดพืชที่จะเพาะปลูกจากพืชที่มีความต้องการใช้น้ าตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
               มาก เป็นปลูกพืชที่ต้องการใช้น้ าน้อยแทน เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่ว หรือ พืชผักแทนการท านา เป็นต้น
                     4.5.4  สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในเรื่องของภัยแล้ง เป็นการเพิ่มศักยภาพ หรือ ขีดความสามารถใน

               การรับมือกับภัยแล้ง เช่น ให้ทราบถึงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งก่อนท าการเพาะปลูกในฤดูถัดไป มีการเฝ้าระวังและ
               ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่เกิดสภาวะแห้งแล้ง รวมถึงการรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่า โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ า
               เป็นการเพิ่มศักยภาพของพื้นที่ให้เกิดการสะสมน้ าในดิน และน้ าใต้ดิน รวมทั้งการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความ
               ชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ช่วยชะลอการไหลของน้ า ไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ าเร็วและแรง
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117