Page 116 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 116

106



               แคลนน้ าในช่วงที่พืชไม่ต้องการน้ าหรือต้องการน้ าน้อย ก็ถือได้ว่า ณ เวลานั้นน้ าไม่ได้เป็นปัจจัยส าคัญ ดังนั้น

               พื้นที่ดังกล่าวถือได้ว่าไม่มีความเสี่ยงภัยแล้ง เป็นต้น
                     2)  ขนาดของพื้นที่ที่ใช้ในการวิเคราะห์ รวมถึงความละเอียดและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งขนาดของ

               พื้นที่ยิ่งเล็ก ปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ก็ควรจะมีความละเอียดให้มากขึ้น เพื่อความถูกต้องของผลการวิเคราะห์

                     3) แผนที่คาดการณ์พื้นที่ท าการเกษตรที่มีโอกาสเกิดภัยแล้ง ควรแล้วเสร็จก่อนที่จะเข้าฤดูกาลปลูกครั้ง
               ถัดไป เพื่อจะได้เตรียมรับมือกับภัยแล้ง หรือมีแนวทางการจัดการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากความแห้ง

               แล้งในพื้นที่เกษตรกรรม
                     4) ควรมีการเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคาดการณ์เป็นการคาดหมายระยะนาน

               เป็นการคาดการณ์ก่อนฤดูกาลเพาะปลูก และเนื่องจากภัยแล้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความซับซ้อน มีการ
               ก่อตัวอย่างช้าๆ ไม่อาจรู้ล่วงหน้า หรือกว่าจะรู้ก็เมื่อสถานการณ์ลุกลามแล้ว และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจ า

               ทุก ๆ ปี ซึ่งการวางแผนเตรียมการรับมือกับปัญหาภัยแล้งอาจจะมีการคาดเคลื่อนได้

                     5) การเฝ้าระวังเตือนภัย เป็นวิธีการที่จะเป็นการป้องกัน และลดความรุนแรงของภัย หรือลดความ
               เสียหายที่จะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง ซึ่งการเตือนภัยควรเตือนตามช่วงเวลาของการเกิดภัยทุกๆ 7  วัน โดยการน า

               เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลการส ารวจระยะไกล ระบบเครือข่ายการสื่อสาร

               และพัฒนาระบบการเตือนภัยให้มีความถูกต้องแม่นย า และมีความรวดเร็ว เข้าถึงแหล่งเป้าหมายได้ทัน
               สถานการณ์  ข้อมูลที่ใช้ในการเฝ้าระวังเตือนภัย ควรจะเป็นข้อมูลที่มีความเป็นจริง ณ เวลานั้นๆ มากที่สุด

               โดยเฉพาะ ปริมาณน้ าต้นทุนที่ใช้ได้ในการท าการเกษตร  พื้นที่เพาะปลูก ชนิดและอายุของพืช เพื่อความ
               ถูกต้องของการเตือนภัยแล้งในพื้นที่ท าการเกษตร

                     6) ควรมีการบูรณการท างานอย่างใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ
               ภัย กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร ในการจัดท าแผนและแนวทางการจัดการพืชผลการเกษตร และ

               ท าความเข้าใจให้ค าแนะน ากับเกษตรกรปลูกพืชที่ใช้น้ าน้อยหรือพืชฤดูแล้ง

               5.3  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

                     ประโยชน์ที่ได้จากการจัดท าแผนที่คาดการณ์ความแห้งแล้งในพื้นที่ท าการเกษตร ก่อนฤดูกาลเพาะปลูก
               มีดังนี้

                     1)  ประโยชน์ในการเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น โดยการก าหนดมาตรการเพื่อช่วย
               บรรเทา และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่การเกษตร ดังนี้
                         (1)  ด้านการวางแผนป้องกัน และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยการพัฒนาแหล่งน้ าเพื่อป้องกัน
               และบรรเทาภัยแล้ง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ าขนาดเล็ก การพัฒนาแหล่งน้ านอกเขตชลประทาน การ
               ก่อสร้างแหล่งน้ าขนาดเล็กในชุมชน หรือไร่นาของเกษตรกร รวมถึงการก่อสร้างแหล่งน้ าในเขตพื้นที่เอกสาร

               สิทธิให้ประชาชนเข้าท าประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) เพื่อให้เกษตรกรมีแหล่งน้ าไว้ใช้เพื่อการเกษตร
               และช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ าในช่วงฤดูแล้ง/ฝนทิ้งช่วง รวมถึงการวางแผนการจัดสรรน้ า และการ
               เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง โดยการปรับลดเป้าหมายการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งให้สอดคล้องกับปริมาณน้ าต้นทุน

               ในแต่ละพื้นที่ โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการน้ าในพื้นที่ท าการเกษตร การปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืช
               ใช้น้ ามาก เป็นพืชอายุสั้นหรือพืชใช้น้ าน้อย เช่น การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีความต้องการใช้น้ าประมาณ
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121