Page 113 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 113

103



                                                         บทที่ 5


                                                     สรุปผลการศึกษา


               5.1  สรุปผลการศึกษา
                     การคาดการณ์ความแห้งแล้งในพื้นที่ท าการเกษตร  โดยการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ และข้อมูลการ
               ส ารวจระยะไกล มาประมวลผลหาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ดังนี้

                     5.1.1  พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา เป็นการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีสภาพอุตุนิยมวิทยาไม่เอื้ออ านวย
               ต่อการเพาะปลูก ที่จะส่งผลกระทบในเรื่องของการขาดแคลนความชื้น โดยปัจจัยที่น ามาวิเคราะห์ ได้แก่ พื้นที่แห้ง

               แล้งตามปริมาณน้ าฝน จ านวนวันที่ฝนตก หรือตามโอกาสที่ฝนตก  และ ค่าดัชนีความแห้งแล้งทางด้าน
               การเกษตร ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน พบว่า ประเทศไทย มีความเสี่ยงแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา

               ในระดับปานกลางคิดเป็นเนื้อที่ 266.26 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 83.01 ของพื้นที่ประเทศ และมีความเสี่ยงแล้ง
               ด้านอุตุนิยมวิทยาในระดับสูง คิดเป็นเนื้อที่ 54.49 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 16.99 ของพื้นที่ประเทศ โดยพื้นที่ที่

               มีความเสี่ยงแล้งด้านอุตุนิยมวิทยาในระดับสูงส่วนใหญ่พบในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัด

               กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น
                     5.1.2   พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านกายภาพ  เป็นการวิเคราะห์ถึงศักยภาพ และความล่อแหลมของพื้นที่ว่า

               พื้นที่ไหนมีความล่อแหลมต่อการเกิดความแห้งแล้ง โดยปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความเสี่ยงของพื้นที่ที่มี

               โอกาสเกิดความแห้งแล้ง ประกอบด้วย ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน ขอบเขตชลประทาน ความสามารถในการอุ้ม
               น้ าของดิน หรือการระบายน้ าของดิน ความลาดชันของพื้นที่ สถิติภูมิอากาศในคาบ 30 ปี(พ.ศ.2524 - 2553)

               ระยะห่างจากล าน้ า และคลองชลประทาน พบว่า ประเทศไทยมีสภาพพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดความแห้งแล้งสูง
               พื้นที่ส่วนใหญ่พบในสภาพการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่ท าการเกษตร ที่มีความลาดชันมากกว่า 12  เปอร์เซ็นต์ มี

               ความสามารถในการอุ้มน้ าน้อย ไม่อยู่ในเขตชลประทาน ห่างจากล าน้ าและคลองชลประทานมากกว่า 1500
               เมตร มีเนื้อที่ 55,466,761 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.33 ของพื้นที่ประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่พบในสภาพการใช้ที่ดิน

               เป็นพื้นที่ท าการเกษตร ที่มีความสามารถในการอุ้มน้ าปานกลาง ถึง ดี ห่างจากล าน้ าและคลองชลประทาน

               500 ถึง 1500 เมตร มีเนื้อที่ 100,331,858  ไร่  คิดเป็นร้อยละ 31.35 ของพื้นที่ประเทศ และ สภาพพื้นที่ที่มี
               ความเสี่ยงเกิดความแห้งแล้งต่ า พื้นที่ส่วนใหญ่พบในสภาพการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่ท าการเกษตร ที่มี

               ความสามารถในการอุ้มน้ าดี มีแหล่งน้ าต้นทุน อยู่ในเขตชลประทาน ห่างจากล าน้ าและคลองชลประทาน น้อย

               กว่า500 เมตร มีเนื้อที่ 7,253,479  ไร่  คิดเป็นร้อยละ 2.27 ของพื้นที่ประเทศ
                     5.1.3   สถิติการเกิดความแห้งแล้ง  เป็นการหาพื้นที่ประสบความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อดูความ

               น่าจะเป็นของการเกิดความแห้งแล้งในอนาคต โดยท าการวิเคราะห์ค่าดัชนีพืชพรรณผลต่างแบบนอร์แมลไลซ์
               (Normalized Difference in Vegetative Index : NDVI) ที่แสดงถึงสิ่งปกคลุมดิน พื้นที่สีเขียวของพืชพรรณ

               ร่วมกับค่าอุณหภูมิพื้นผิว (land Surface Temperature : LST) ที่แสดงถึงค่าอุณหภูมิพื้นผิวที่มี และไม่มีพืช
               ปกคลุม ซึ่งค่าอุณหภูมิพื้นผิวนี้จะมีความสัมพันธ์กับค่าการคายระเหยน้ าของพืช จากการวิเคราะห์สถิติการเกิด

               ความแห้งแล้งในรอบ 10  ปี (พ.ศ.2548  ถึง พ.ศ. 2557)  พบว่า พื้นที่ประสบความแห้งแล้งเป็นประจ า ได้แก่

               พื้นที่ประสบความแห้งแล้งน้อยกว่า 4  ครั้งในรอบ10  ปี เนื้อที่ 56,994,593  ไร่ พื้นที่ประสบความแห้งแล้ง
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118