Page 40 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 40

32





                   ระยะเวลาของภัยแล้ง อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนประกอบการตัดสินใจด้าน
                   เกษตรกรรมในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งการศึกษาดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการศึกษาของ กรรณิกา

                   และนพกร (2557) ได้ศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร โดย

                   กำหนดปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อ
                   วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งได้กำหนดปัจจัยที่ใช้ทั้งหมด 4 ปัจจัย เป็นปัจจัยหลักโดยปัจจัยที่มี

                   ความสำคัญ และคาดว่าน่าจะมีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งมากที่สุดในพื้นที่ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝน
                   ระยะห่างแหล่งน้ำ และการหาความสัมพันธ์ระหว่างใช้ประโยชน์ที่ดิน และค่าดัชนีพืชพรรณทำการ

                   วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยการซ้อนทับข้อมูล (Map

                   Overlay) จากแผนที่ที่จัดทำขึ้น นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งระดับความเสี่ยงพื้นที่การเกิดภัยแล้ง โดยใช้ค่า
                   คะแนนความสำคัญของปัจจัยหลักที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้ง

                   แล้งในพื้นที่ศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงในการเกิดความแห้งแล้งในจังหวัดกำแพงเพชร จึง
                   มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝน และระยะห่างของแหล่งน้ำ และผลการศึกษาความเสี่ยงต่อ

                   ความแห้งแล้งของพื้นที่ที่ศึกษา จากการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งร่วมกับข้อมูล

                   ดาวเทียมของต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกันคือ Volcani, Karnieli, and Svoray (2004) ได้ทำการ
                   วิจัยโดยใช้การสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิเคราะห์ spatio-temporal จาก

                   สภาพทางสรีรวิทยาของป่ากึ่งแห้งแล้งที่เกี่ยวกับปีที่เกิดฤดูแล้ง จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้คือการ

                   ตรวจสอบและประเมินผลตามฤดูกาล การเปลี่ยนแปลง phenological และการเปลี่ยนแปลงระหว่างปีใน
                   ป่าที่เกิดผลกระทบทางภัยแล้ง ใช้ดัชนีพืชสเปกตรัม กล่าวคือ Normalized Difference Vegetation

                   Index (NDVI) ในการตรวจสอบจะให้ภาพถ่ายจาก 8-Landsat-TM และ ภาพจาก ETM+ นอกจากนี้การ

                   ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง NDVI และ เทคนิคการใช้ Differencing ถูกนำมาใช้สำหรับการประเมินการ
                   เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลและระหว่างปี ในพืชพรรณผลการวิจัยพบความคล้ายคลึงกันระหว่างการ

                   สังเคราะห์และการเปลี่ยนแปลงค่า NDVI ตามฤดูกาลเพาะปลูก พบว่าระหว่างปี 1995 และ 2000 NDVI
                   ลดลงมาก เนื่องจากเหตุการณ์ภัยแล้งในปีนี้ การเปิดใช้งานการประเมินผลกระทบต่อพื้นที่และเวลาของ

                   ภัยพิบัติดังกล่าว NDVI วัดได้จากพืชพรรณที่ถูกพบ และมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับอายุของพืช

                   เนื่องจากมีอิทธิพลโดยตรงต่อพื้นที่ของพืชพรรณ ลักษณะภูมิประเทศ เช่น มีความลาดชัน พบว่ามี
                   ผลกระทบต่อค่า NDVI ภายใต้เงื่อนไขจะเห็นว่าปัจจัยแวดล้อม เช่นชนิดของดิน และภูมิประเทศที่ไม่ได้มี

                   ความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงค่า NDVI ซึ่งการศึกษาที่มีการวิจัยเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่าง
                   ดาวเทียม TRMM และ MODIS เป็นการศึกษาของ Yaduvanshi, Prashant,  and Srivastava (2015)

                   ได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการบูรณาการระหว่างดาวเทียม TRMM และ MODIS กับเศรษฐกิจและสังคมใน

                   การตรวจสอบภัยแล้งเหนือภูมิภาคเขตร้อนของประเทศอินเดีย ปัจจุบันทำการทดลองประเมินอันตราย
                   และความเสี่ยงจากภัยแล้ง โดยใช้ชุดข้อมูลเชิงพื้นที่และเชิงเวลาของระบบ TRMM และ MODIS ปริมาณ

                   น้ำฝนที่ได้จาก TRMM ถูกนำเข้าสำหรับการวิเคราะห์แนวโน้ม และการประมาณค่าดรรชนีความแห้งแล้ง

                   ของฝนที่ต่างจากค่าปกติ (SPI) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในปริมาณน้ำฝนและลด
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45