Page 43 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 43

35





                                                           บทที่ 4

                                                        ผลการศึกษา


                         จังหวัดสระแก้วเกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำจนก่อให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งขึ้น ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติหรือ

                   ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ขาดฝน ทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ทำการเกษตร ส่งผลให้พืชผลและ

                   สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ได้รับความรุนแรงของการขาดแคลนจะมีความสัมพันธ์กับภาวะฝนแล้ง ซึ่งฝนนับเป็นปัจจัย
                   ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความแห้งแล้งชัดเจนกว่าข้อมูลอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ ปัญหาการขาดแคลนน้ำ

                   ด้านการเกษตร เป็นสภาวะที่พืชขาดน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณน้ำฝนรวม และการกระจายตัวของฝน
                   น้อยกว่าปกติ ความชื้นในดินมีน้อย


                   4.1  พื้นที่แล้งซ้ำซาก

                           จากการนำข้อมูลที่ได้จากการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ   ที่ได้จากการแปลตีความภาพถ่าย

                   ดาวเทียมมาวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์
                   ที่ดิน ข้อมูลดัชนีความแห้งแล้ง ที่เป็นปัจจัยในการเกิดสภาวะแห้งแล้ง พร้อมด้วยเงื่อนไขตามที่ได้กำหนดไว้โดย

                   วิธีการกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักในแต่ละปัจจัยที่มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้อง  ในการทำให้เกิดแล้งซ้ำซาก  พร้อม
                   กับข้อมูลการสำรวจในพื้นที่จริง เพื่อกำหนดพื้นที่แล้งซ้ำซาก ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 -

                   2560) และสามารถแบ่งระดับพื้นที่แล้งซ้ำซากได้เป็น 3 ระดับ  ดังนี้คือ

                          ระดับที่ 1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี
                          ระดับที่ 2 พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี

                              ระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี

                         จากผลการวิเคราะห์พื้นที่แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว (9 อำเภอ) ได้แก่ เขาฉกรรจ์ คลองหาด โคก
                   สูง ตาพระยา เมืองสระแก้ว วังน้ำเย็น วังสมบูรณ์ วัฒนานคร และอรัญประเทศ พบว่ามีเนื้อที่ ทั้งหมด

                   2,094,681 ไร่ สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี

                   มีเนื้อที่ 1,609 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 0.77 ของพื้นที่แล้งซ้ำซาก ระดับที่ 2 พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี
                   มีเนื้อที่ 110,934 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.30 ของพื้นที่แล้งซ้ำซาก และระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้ง

                   ในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ 1,982,138 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 93.93 ของพื้นที่แล้งซ้ำซาก  สามารถอธิบายพื้นที่แล้ง
                   ซ้ำซากในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว 9 อำเภอ แยกเป็นรายอำเภอได้ดังนี้ (ตารางที่ 2 และภาพที่ 5 ถึง 14)

                         1. อำเภอเขาฉกรรจ์ มีเนื้อที่แล้งซ้ำซากทั้งหมด 150,280 ไร่ มีพื้นที่แล้งซ้ำซาก 2 ระดับคือ ระดับที่ 2

                   พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,226 ไร่ ครอบคลุม 2 ตำบล ระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่
                   เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 149,054 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล

                         2. อำเภอคลองหาด มีเนื้อที่แล้งซ้ำซากทั้งหมด 155,336 ไร่ มีพื้นที่แล้งซ้ำซาก 2 ระดับคือ ระดับที่ 2
                   พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 11,559 ไร่ ครอบคลุม 4 ตำบล ระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซาก

                   ไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 143,777 ไร่ ครอบคลุม 7 ตำบล
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48