Page 38 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 38

30





                                2.4 การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม การเพาะปลูกพืชจำเป็นต้องอาศัยน้ำ ซึ่งส่วน
                   ใหญ่ได้รับจากน้ำฝน นอกจากปริมาณน้ำฝนที่ได้รับในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมแล้ว ยังต้อง

                   พิจารณาถึงการกระจายของฝนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีฝนทิ้งช่วงแตกต่างกัน การเพาะปลูกจึงตองหลึกเลี่ยง

                   ระยะฝนทิ้งช่วง เพื่อให้ได้รับผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ บางพื้นที่ก็มีปัญหาน้ำท่วมจากปริมาณน้ำท่าที่ไหลเอ่อ
                   ล้นฝั่งลำน้ำ อาจทำให้พืชผลเสียหาน การจัดระบบการปลูกพืชจึงต้องคำนึงหรือหลีกเลี่ยง ทั้งช่วงแล้งและ

                   ช่วงน้ำท่วม หรือการหาพันธุ์พืช ชนิดพืชที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
                                2.5 การรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่าโดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ช่วยให้เกิดการสะสมน้ำในดิน

                   และน้ำใต้ดิน รวมทั้งการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ช่วยชะลอการไหลของน้ำไม่ให้ไหล

                   ลงสู่ที่ต่ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง ป่านอกจากช่วยเก็บกักน้ำฝนไว้ในชั้นดิน และอากาศเหนือผิวดินในรูป
                   ของไอน้ำแล้ว ป่าไม้ที่สมบูรณ์ยังช่วยให้มีน้ำไหลในลำธารตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งใน

                   การรักษาสภาพป่า และการฟื้นฟูป่าไม้ให้สมบูรณ์


                   3.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                         1. การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง
                            การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง จากการศึกษาของ ซึ่งมีความสอดคล้องกับการ

                   วิเคราะห์ภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดนครราชสีมา โดย สมพิศ (2555) ได้ศึกษาการวิจัยครั้งนี้มี

                   วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับภัยแล้ง และพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านปริมาณน้ำฝนกับจำนวนวันที่ฝน
                   ตก ด้านอุทกวิทยาและด้านการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา  โดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเป็น

                   เครื่องมือวิเคราะห์เชิงพื้นที่ ปัจจัยย่อยภัยแล้งแบบจับคู่ซ้อนทับข้อมูล ตามระดับความเสี่ยงภัยแล้งที่

                   กำหนด ผลการศึกษาพบว่า จากปัจจัยที่ศึกษาจะมีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งมาก ปานกลาง และน้อยแตกต่างกัน
                   ไป เป็นไปตามการแบ่งชั้นข้อมูล และลำดับความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่กำหนดโดยวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง

                   ภัยแล้งจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งระดับรุนแรงมากประมาณ 8,825.80 ตารางกิโลเมตร เมื่อ
                   พิจารณาสภาพปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำตามตัวชี้วัดระดับหมู่บ้านของจังหวัดนครราชสีมากับพื้นที่เสี่ยงภัย

                   แล้งระดับรุนแรงมาก จะมีหมู่บ้านที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเกษตรมากที่สุดกระจายอยู่ถึง 716 หมู่บ้าน รวมถึงการ

                   กำหนดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการประสบภัยแล้ง เพื่อนำเสนอมาตรการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง
                   จากการวิเคราะห์พื้นที่ของ สีใส (2547) ได้ศึกษาการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการ

                   วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดพิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุ
                   ของการเกิดภัยแล้งในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดพิษณุโลก เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการ

                   กำหนดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการประสบภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก และมานำเสนอมาตรการป้องกัน

                   และบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก โดยคำนึงถึงการจัดการกับปัจจัยด้าน
                   สิ่งแวดล้อม ได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้น และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ

                   ภูมิศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่าการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการวิเคราะห์ และ

                   กำหนดพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาภัยแล้ง และระดับความรุนแรงของปัญหาจากปัจจัยด้าน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43