Page 37 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 37

29





                   3.6 แนวทางการจัดการพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร
                            แนวทางการจัดการพื้นที่เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านการเกษตร ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2

                   ระยะ คือ แนวทางในการจัดการพื้นที่ระยะสั้น จะดำเนินการในฤดูแล้งหรือช่วงที่เกิดภัยแล้งขึ้นเป็นการ

                   เฝ้าระวังและติดตามและเตือนภัยล่วงหน้าบริเวณพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง ส่วนแนวทางในการจัดการพื้นที่
                   ระยะยาว นั้นเป็นการเสนอแนะแนวทางการป้องกัน และการจัดการฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งให้สามารถ

                   นำกลับมาใช้ประโยชน์ ดังนี้ (สำนักบริหารและพัฒนาการใช้ที่ดิน, 2549)
                            1. แนวทางในการจัดการพื้นที่ระยะสั้น ได้แก่

                              1.1 การเตือนภัยแล้งในช่วงฤดูแล้ง ผ่านทางเว็บไซต์ http://irw101.ldd.go.th/index.php

                              1.2 เฝ้าระวังพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากเป็นพิเศษ
                              1.3 รายงานสรุปพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบภัยแล้งหรือเสียหายเพื่อประเมินความเสียหาย

                   และให้การช่วยเหลือเบื้องต้น
                            2.  แนวทางในการจัดการพื้นที่ระยะยาว ได้แก่

                              2.1 ฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง โดยการส่งเสริมการอนุรักษ์ดนิและน้ำ เพิ่ม

                   การปกคลุมดินโดยการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชปุ๋ยสด และการปลูกหญ้าแฝกเพื่อลดการชะล้างพังทลาย
                   ของดิน โดยเฉพาะหญ้าแฝก ซึ่งเป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็ว แตกเป็นกอแน่น มีระบบรากฝอยที่ยาว

                   แข็งแรง และยึดสานกันแน่น รากหญ้าแฝกจึงเปรียบเสมือนกำแพงใต้ดิน ทำหน้าที่เกาะยึดดิน เก็บรักษา

                   น้ำในดิน การปลูกหญ้าแฝกสามารถทำได้ง่าย และมีประโยชน์มาก เช่น การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์
                   ดินและน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

                   ในดิน การปลูกแฝกเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เป็นต้น

                               2.2 การสร้างแหล่งเก็บกักน้ำ เพื่อรักษาน้ำไว้ใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งทุนน้ำสำรองในฤดูแล้ง
                   หรือระยะฝนทิ้งช่วง แหล่งเก็บกักน้ำจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพประเทศ สภาพทางเศรษฐกิจ

                   สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง อ่าง
                   เก็บน้ำขนาดเล็ก ฝายทดน้ำ การขุดลอก คู คลอง หนองบึง ที่ตื้นเขิน ให้สามารถเก็บกักน้ำได้มากขึ้น และ

                   การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นา โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อให้เกษตรกรใช้เก็บกักน้ำ

                   ไว้ใช้ในฤดูแล้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ที่ดินมากขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดินด้วย
                   นอกจากนี้การสร้างถังเก็บน้ำฝนสำหรับรองรับน้ำฝนจากหลังคาบ้าน หลังคาโรงเรือนต่างๆ เก็บน้ำฝนไว้ใช้

                   ประดยชน์ในฤดูแล้ง เพื่อการออุปโภคบริโภคได้อีกทางหนึ่ง
                                2.3 เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มชิ่งว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้

                   โดยอินทรียวัตถุ มีลักษณะเป็นสารคอลลอยด์ อนุภาคของอินทรียวัตถุ ประกอบกันเป็นโครงสร้างมี

                   ลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีช่องว่างขนาดเล็ก ทำให้มีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ำได้มากเป็นพิเศษ ปริมาณ
                   อินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยเพิ่มความจุดของน้ำที่เป็นประโยชน์ เพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์

                   นอกจากนี้ อินทรียวัตถุยังช่วยให้ดินมีดครงสร้างดีขึ้น มีความร่วนซุย การซาบซึมของน้ำดีขึ้น จึงช่วยให้ดิน

                   สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากขึ้น และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42