Page 39 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 39

31





                   สิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงสถานภาพของปัญหาเชิงพื้นที่ที่เกิดขึ้น ได้
                   สรุปผลการวิจัยดังนี้ สถิติจำแนกกลุ่มสามารถให้ความถูกต้องของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้สูงเมื่อเปรียบเทียบ

                   กับวิธีอื่น ตัวแปรทั้งหมด 15 ตัวแปรสามารถใช้ร่วมกันอธิบายความเสี่ยงต่อภัยแล้งของพื้นที่ร้อยละ 95.4

                   พบว่า 4 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรระยะห่างจากพื้นที่ชลประทาน ปัจจัยศักยภาพชั้นหินให้น้ำ ปัจจัย
                   ความสามารถให้น้ำของบ่อบาดาล และปัจจัยระยะห่างจากแหล่งน้ำผิวดิน มีความสัมพันธ์สูงกับระดับเสี่ยง

                   ภัยแล้ง โดยในพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดพิษณุโลก 6,809,375 ไร่ พื้นที่เสี่ยงระดับต่ำ 1,971,628 ไร่ พื้นที่
                   เสี่ยงระดับปานกลาง 2,024,055 ไร่ และพื้นที่เสี่ยงระดับสูง 1,199,458 ไร่ จากการศึกษาพื้นที่แล้งซ้ำซาก

                   จังหวัดสระแก้วมีความสอดคล้องกับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ของ วีระศักดิ์ และพลูศิรี (2558) ได้

                   ศึกษาการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งบริเวณภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิด
                   สภาวะแห้งแล้ง ใช้การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกับการใช้ระบบ

                   สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานวิเคราะห์และจัดหาแผนที่ซึ่งการวิเคราะห์เพื่อ
                   กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยตามลำดับของอิทธิพลที่มีต่อความแห้ง

                   แล้ง คือ ดัชนีฝนแล้ง การอุ้มน้ำของดิน พื้นที่ชลประทานปริมาณน้ำใต้ดิน จำนวนวันที่ฝนตกรายปีเฉลี่ย

                   และการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีค่าถ่วงเป็น 3 : 2.5 : 2 :1.5 :1 :1 ตามลำดับ พบว่าสามารถจัดกลุ่มระดับ
                   ความเสี่ยงภัยแล้งบริเวณภาคตะวันออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับไม่เสี่ยงภัยแล้งมีพื้นที่ 8370.24 ตาราง

                   กิโลเมตร เสี่ยงภัยแล้งระดับต่ำมีพื้นที่ 10236.22 ตารางกิโลเมตร เสี่ยงภัยแล้งระดับปานกลาง มีพื้นที่

                   10343.06 ตารางกิโลเมตร และเสี่ยงภัยแล้งระดับสูง มีพื้นที่ 5,661.74 ตารางกิโลเมตร
                         2. การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งร่วมกับข้อมูลดาวเทียม

                             การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งร่วมกับข้อมูลดาวเทียม จากการศึกษาโดย ธีระพงศ์ (2553)

                   ได้ทำการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดอุทัยธานีเพื่อ
                   จัดลำดับความเสี่ยง โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับข้อมูลจากดาวเทียม และประเมินผลกระทบที่เกิดจาก

                   ภัยแล้ง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดอุทัยธานีในอนาคต โดยนำ
                   ปัจจัยด้านพื้นที่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดภัยแล้ง ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่ฝนตก ระยะห่างจาก

                   แหล่งน้ำ แหล่งน้ำใต้ดิน ความลาดชันของพื้นที่ ศักยภาพความชื้นของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                   วิเคราะห์โดยใช้วิธีซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) โดยกำหนดค่าคะแนนและการถ่วงน้ำหนัก เพื่อ
                   กำหนดระดับของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง และนำข้อมูลที่ได้มาซ้อนทับกับค่าดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ที่ได้จาก

                   ข้อมูลดาวเทียม การศึกษาในเรื่องนี้มีความสอดคล้องกับการศึกษาเพื่อประเมินภาวะแล้งในด้าน
                   เกษตรกรรม ของ นิชชา และบุญ ต า (2557) ซึ่งได้ศึกษ า โดยการใช้ข้อมูลดาวเทียม และข้อมูล

                   อุตุนิยมวิทยาประยุกต์ใช้กับข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ช่วยในการประเมินและวิเคราะห์พื้นที่ศึกษา เพื่อ

                   พิจารณาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อพื้นที่เกิดภัยแล้งด้วย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลหลักสำคัญ ได้แก่ ข้อมูล
                   ดาวเทียม ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลภูมิอากาศ และการใช้ที่ดินในเกษตรกรรม การศึกษาปัจจัยที่

                   เกี่ยวข้องสำหรับประเมินภาวะภัยแล้งในเขตพื้นที่เกษตรกรรม จะใช้เกณฑ์พิจารณาจากดัชนีพืชพรรณ

                   (NDVI) และข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยา เป็นตัวแปรสำคัญ จากการศึกษาครั้งนี้สามารถคาดการณ์ช่วง
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44