Page 16 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 16

7



               2.2  สภาพภูมิอากาศ

                     ภูมิอากาศของประเทศไทยได้รับอิทธิพลหรือปัจจัยส าคัญจากลมมรสุม 2 ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันออก
               เฉียงใต้  พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม  โดยมีแหล่งก าเนิดจาก
               บริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียง
               ใต้  และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร  มรสุมนี้จะน ามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทร

               อินเดียมาสู่ประเทศไทย  ท าให้มีเมฆมากและฝนชุกทั่วไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและ
               เทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้วประมาณ
               กลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มี

               แหล่งก าเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน  จึงพัดพาเอามวล
               อากาศเย็นและแห้งจากแหล่งก าเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ท าให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้ง
               แล้งทั่วไป  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่ง
               ตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้น าความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุดมรสุมทั้งสองชนิด
               อาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี (ภาพที่ 3)

                     2.2.1  ฤดูกาล จากอิทธิพลของลมมรสุมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ท า
               ให้แบ่งฤดูกาลของประเทศไทย เป็น 3 ฤดู คือ
                           1)  ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยน

               จากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และเป็นระยะที่ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์
               โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวัน ท าให้ได้รับความ
               ร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าวทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าโดยทั่วไปจะมีอากาศร้อนและแห้ง
               แล้ง  แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน  ท าให้เกิดการ

               ปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทยซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
               และลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียก
               อีกอย่างหนึ่งว่าพายุฤดูร้อนลักษณะอากาศในฤดูร้อนพิจารณาจากอุณหภูมิสูงสุดของแต่ละวัน โดยมีเกณฑ์การ
               พิจารณาดังนี้

                                อากาศร้อน อุณหภูมิระหว่าง 35.0 องศาเซลเซียส - 39.9 องศาเซลเซียส
                                อากาศร้อนจัด อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป
                           2)  ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย
               และร่องความกดอากาศต่ าพาดผ่านประเทศไทยท าให้มีฝนชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศต่ านี้ปกติจะพาดผ่าน

               ภาคใต้ในเดือนพฤษภาคม  แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามล าดับจนถึงช่วงประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะ
               พาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ท าให้ฝนในประเทศไทยลดลงระยะหนึ่งและเรียกว่าฝนทิ้งช่วง ซึ่งอาจ
               นานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรง และมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติ

               ร่องความกดอากาศต่ าจะเลื่อนกลับลงมาทางใต้พาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้งท าให้มีฝนชุกต่อเนื่อง
               จนกระทั่งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยแทนที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ
               กลางเดือนตุลาคมประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีอากาศเย็นและฝนลดลง  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ  เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมีฝนชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมและมักมีฝนหนักถึงหนักมากจน
               ก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตาม

               การเริ่มต้นฤดูฝนอาจจะช้าหรือเร็วกว่าก าหนดได้ประมาณ  1  -  2  สัปดาห์เกณฑ์การพิจารณาปริมาณฝนใน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21