Page 21 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 21

12



                           ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคอื่นอย่าง

               ชัดเจน มีทิวเขาใหญ่กั้นอยู่โดยรอบทางด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดเล็กอยู่ประปรายภายในของภาค
               ทางทิศตะวันตกของภาคมีทิวเขาใหญ่ 2 ทิว ทอดยาวติดต่อจากเหนือลงมาทางใต้ คือ ทิวเขาเพชรบูรณ์ทางตอนเหนือ

               และทิวเขาดงพญาเย็นทางตอนใต้ ทิวเขาทั้งสองนี้กั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเหนือ ภาคกลาง และ

               ภาคตะวันออก มีความสูงเฉลี่ย 500 - 1,000 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสาน คือ
               ยอดภูหลวงมีความสูง 1,571 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ทางทิศใต้ของภาคมีทิวเขาใหญ่อีก 2 ทิว ทอดยาว

               จากทางทิศตะวันตกต่อไปตลอดเขตแดนประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
               คือ ทิวเขาสันก าแพงและทิวเขาพนมดงรัก พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อเรียกว่า ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบ

               สูงในบริเวณทิวเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่น้ าโขง บริเวณตอนในค่อน
               ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยังมีทิวเขาเตี้ยๆ เรียกว่า ทิวเขาภูพาน และมีภูเขากระจัดกระจายไม่เป็นทิวเขา ท า ให้

               ลักษณะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบใหญ่ 2 ตอน คือ แอ่งสกลนครและแอ่งโคราช

                     2.3.3  ภาคกลางประกอบด้วย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี
               ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี

               สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพมหานครไม่

               นับว่าเป็นจังหวัดเนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ มีพื้นที่ ประมาณ 43,450,440 ไร่
                           ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการที่แม่น้ าพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย

               และตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเป็นเวลานาน ระดับพื้นที่มีลักษณะลาดลงมาทางใต้ พื้นที่ราบส่วนใหญ่มีความ
               สูงโดยประมาณน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง มีภูเขาเตี้ยๆ เกิดขึ้น แต่ไม่มากนัก โดยทางทิศ

               ตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีทอดเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสหภาพพม่า  มีความสูงจาก
               ระดับน้ าทะเลปานกลางเกินกว่า  1,650  เมตร  ทางด้านตะวันออกมีเทือกเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาสันก า

               แพงเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                     2.3.4  ภาคตะวันออก  ประกอบด้วย  7  จังหวัด  ได้แก่  จังหวัดจันทบุรี  ฉะเชิงเทรา  ชลบุรี ตราด
               ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว มีพื้นที่ประมาณ 21,487,812 ไร่

                           ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นภูเขา แนวเทือกเขา ที่ราบแคบๆ และชายฝั่งทะเล ทางตอนเหนือของภาคมี
               เทือกเขาสันก าแพงและเขาพนมดงรัก ทอดในแนวตะวันตก-ตะวันออก เป็นเส้นกั้นเขตระหว่างภาคตะวันออกกับภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือ  ทางด้านตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับ

               ราชอาณาจักรกัมพูชาที่จังหวัดตราด  ถัดมามีเทือกเขาจันทบุรีอยู่ในแนวจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี  ท้องทะเล
               ตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่งที่ส าคัญ ได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะ

               เสม็ด เกาะมันใน ในจังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี
                     2.3.5  ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส

               ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎร์ธานี มีเนื้อที่รวมประมาณ 44,196,992 ไร่

               จังหวัดที่ใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต ทุกจังหวัดของภาคมีอาณา
               เขตติดต่อกับทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลา
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26