Page 22 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 22

13



                           ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างเขาหรือที่ราบชายฝั่งทะเล มีทะเล

               ขนาบทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านฝั่งทะเลตะวันออกติดอ่าวไทยและฝั่งทะเลตะวันตกติดทะเลอันดามัน สภาพพื้นที่เป็น
               ที่ราบ มีความสูงจากระดับน้ าทะเลปานกลางน้อยกว่า 13 เมตร พื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของภาคสูงกว่าทางฝั่ง

               ตะวันออก  มีเทือกเขาที่ส าคัญ  ได้แก่  เทือกเขาตะนาวศรีอยู่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกทอดในแนวเหนือ-ใต้

               ขนานกับฝั่งทะเลกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับสหภาพพม่า  เทือกเขาภูเก็ตทอดยาวต่อจากเทือกเขาตะนาวศรี
               เรื่อยไปจนถึงเกาะภูเก็ต  ทางตอนกลางของภาคมีเทือกเขานครศรีธรรมราชทอดในแนวเหนือ-ใต้  ทางด้านใต้

               ของภาคมีเทือกเขาสันกาลาคีรีเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย  ฝั่ง
               ทะเลทั้งสองด้านนี้มีเกาะจ านวนมาก โดยฝั่งทะเลด้านตะวันออกมีเกาะที่ส าคัญๆ คือ เกาะสมุย เกาะพงัน และ

               เกาะเต่า เป็นต้น ส่วนทางฝั่งทะเลด้านตะวันตก มีเกาะภูเก็ตซึ่งนับว่าส าคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ เกาะตะ
               รุเตา เกาะลันตา และเกาะลิบง เป็นต้น


               2.4  ทรัพยากรดิน
                     ทรัพยากรดินและที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความส าคัญประเภทหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยที่จ าเป็นในการ

               ด ารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่ทรัพยากรดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจ ากัด เสื่อมโทรมได้ง่าย และมีความ

               แปรผันไปตามลักษณะพื้นที่ สภาพภูมิอากาศ วัตถุต้นก าเนิดดิน สิ่งมีชีวิต และระยะเวลาในการพัฒนาการเกิด
               ของดิน  ท าให้ที่ดินในแต่ละแห่งมีความเหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน  ดังนั้นเพื่อความเข้าใจต่อ

               ทรัพยากรดิน และที่ดินได้ง่ายขึ้น  กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดท าแผนที่กลุ่มชุดดินระดับจังหวัดขนาดมาตราส่วน
               1 : 50,000 ขึ้นมาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการรวมลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่มีศักยภาพในการใช้ประโยชน์

               ที่ดินคล้ายคลึงกันมารวมอยู่ด้วยกัน  สามารถจ าแนกออกได้  62  กลุ่มชุดดิน  นอกจากนี้ยังได้แบ่งกลุ่มชุดดิน

               ออกเป็นกลุ่มชุดดินย่อย  โดยใช้ลักษณะและสมบัติต่างๆ  ของดินหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจ ากัดหรือมี
               ผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช

                     ลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินที่น ามาใช้แบ่งกลุ่มชุดดิน ได้แก่ ความชื้นในดิน เนื้อดิน ปฏิกิริยาดิน
               การระบายน้ าของดิน ความลึกของดินถึงชั้นที่มีก้อนกรวด เศษหินมาก ชั้นปูนหรือมาร์ล และชั้นหินพื้น วัตถุ

               ก าเนิดดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และความลาดชันของพื้นที่ เป็นต้น ส่วนลักษณะและสมบัติต่างๆ ของดินหรือ

               สภาพแวดล้อมที่น ามาใช้แบ่งกลุ่มชุดดินออกเป็นกลุ่มชุดดินย่อย ได้แก่ ชั้นความลาดชันของพื้นที่ สภาพการใช้
               ประโยชน์ที่ดิน อันตรายจากการถูกน้ าท่วม ความเป็นกรดจัดรุนแรงของดิน การมีคราบเกลือปรากฏอยู่บนผิว

               ดิน และลักษณะอื่นๆ ที่คาดว่ามีผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                     การจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและ

               ให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก จัดหมวดหมู่ได้ 62 กลุ่มชุดดิน โดยแบ่งตามสภาพพื้นที่ที่พบได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่

               ดังนี้ (ตารางที่ 4 และ ภาพที่ 4)
                     2.4.1  กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง

                           เป็นกลุ่มชุดดินที่มีน้ าแช่ขังหรือมีระดับน้ าใต้ดินตื้น ท าให้ดินมีการระบายน้ าเลวมากถึงค่อนข้าง
               เลว พบทุกภาคมีอยู่ 28 กลุ่มชุดดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1 – 25 และกลุ่มชุดดินที่ 57 – 59
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27