Page 19 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 19

10



                     2.2.3  ปริมาณฝน  โดยทั่วไปประเทศไทยมีฝนอยู่ในเกณฑ์ดี  พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝน  1,200  -
               1,600 มิลลิเมตรต่อปี ปริมาณฝนรวมตลอดปีเฉลี่ยทั่วประเทศมีค่าประมาณ 1,587.7 มิลลิเมตร ปริมาณฝนใน

               แต่ละพื้นที่ผันแปรไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล  บริเวณประเทศไทย
               ตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้า
               คะนอง  และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมาก (ตารางที่ 2)  โดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือน
               สิงหาคมหรือกันยายน  พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตก

               เฉียงใต้  ได้แก่  พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศและบริเวณภาคตะวันออก  โดยเฉพาะที่อ าเภอคลองใหญ่
               จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า 4,000 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา
               ได้แก่ พื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคเหนือและภาคกลาง            และบริเวณด้านตะวันตกของภาค
               ตะวันออกเฉียงเหนือ ส าหรับภาคใต้มีฝนชุกเกือบตลอดปียกเว้นช่วงฤดูร้อน พื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกซึ่ง

               เป็นด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันออกในช่วงฤดูฝน  โดยมีปริมาณ
               ฝนมากที่สุดในเดือนกันยายน     ส่วนช่วงฤดูหนาวบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุม
               ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน
               พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากที่สุดของภาคใต้อยู่บริเวณจังหวัดระนองซึ่งมีปริมาณฝนรวมตลอดปีมากกว่า  4,000

               มิลลิเมตร  ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อย ได้แก่ ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบนด้านหลังทิวเขาตะนาวศรี  บริเวณจังหวัด
               เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

               ตารางที่ 2 ปริมาณฝนเฉลี่ยในคาบ 30 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 - 2553 (มิลลิเมตร) ของประเทศไทยในฤดูกาลต่างๆ
                                               ปริมาณฝน (มิลลิเมตร)
                      ภาค                                                          จ านวนวันฝนตกตลอดปี
                                      ฤดูหนาว           ฤดูร้อน        ฤดูฝน

               เหนือ                    100.4           187.3           943.2               122
               ตะวันออกเฉียงเหนือ         76.3          224.4         1,103.8               116
               กลาง                     127.3           205.4           942.5               116
               ตะวันออก                 178.4           277.3         1,433.2               130

               ใต้
                  ฝั่งตะวันออก          827.9           229.0           680.0               145
                  ฝั่งตะวันตก           464.6           411.3         1,841.3               178

               ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2558)

                     2.2.4  ความชื้นสัมพัทธ์

                           ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้นปกคลุมเกือบตลอดปี โดยใน
               พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงชัดเจนในช่วงฤดูหนาวและ

               ฤดูร้อน  โดยเฉพาะฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าสุดในรอบปี  ในบริเวณดังกล่าวมีความชื้น
               สัมพัทธ์ตลอดปี ระหว่าง 72 - 73 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในช่วงฤดูร้อนความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงเหลือ ระหว่าง 63 - 68

               เปอร์เซ็นต์ และเคยมีความชื้นสัมพัทธ์ลดลงต่ าที่สุดเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2526 ที่จังหวัด
               เลย และเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 ที่จังหวัดเชียงราย ส่วนบริเวณที่อยู่ติดฝั่งทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออก

               และภาคใต้ จะมีความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า โดยมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี ระหว่าง 130 – 178 เปอร์เซ็นต์

               (ตารางที่ 3)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24