Page 14 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 14

6



                   2.2 ลักษณะภูมิประเทศ

                      ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือมีความหลากหลายและแตกต่างไปจากภูมิภาคอื่นๆ อย่างเห็น
                   ได้ชัด  โดยพื้นที่ทางตอนบนของภาคส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นภูเขา  เทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างหุบ

                   เขาและเทือกเขาสูงทอดยาวในแนวเหนือใต้  เทือกเขาที่ส าคัญ  ได้แก่  เทือกเขาแดนลาว  เทือกเขา

                   ถนนธงชัย  เทือกเขาจอมทอง  เทือกเขาผีปันน้ า  เทือกเขาขุนตาล  เทือกเขาหลวงพระบาง  เทือกเขา
                   เหล่านี้ถือเป็นแหล่งต้นน้ าล าธารที่ส าคัญและเป็นแหล่งก าเนิดแม่น้ าสายส าคัญของภาคเหนือ คือ ปิง

                   วัง ยม น่าน ซึ่งคอยหล่อเลี้ยงพื้นที่ภาคเหนือเรื่อยลงมาจนถึงพื้นที่ราบลุ่มในเขตภาคกลางตอนล่าง

                   ส่วนบริเวณพื้นที่ทางตอนล่างของภาคมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ าท่วมถึง (Flood  Plains)  ที่
                   ราบขั้นบันได  (Terraces) และที่ราบลูกฟูก (Rolling  Plains)  ขนาดใหญ่ต่อเนื่องไปถึงบริเวณที่ราบ

                   ภาคกลาง ซึ่งเกิดจากการพัดพาตะกอนที่มีขนาดใหญ่มาทับถมเป็นระยะเวลานาน ซึ่งถือเป็นแหล่ง

                   เพาะปลูกที่ส าคัญ และจากสภาพภูมิประเทศดังกล่าวส่งผลให้ภาคเหนือมีพื้นที่เหมาะสมต่อการใช้
                   ประโยชน์ด้านเกษตรกรรมและการตั้งถิ่นฐานชุมชนอยู่อย่างจ ากัดโดยเฉพาะบริเวณแอ่งที่ราบหุบเขา

                   และบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ าในพื้นที่ตอนล่างของภาคซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ต่อเนื่องจนถึงภาคกลาง

                   2.3 ลักษณะภูมิอากาศ

                       สภาพภูมิอากาศของภาคเหนือเป็นแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง  เนื่องจากได้รับอิทธิพล

                   โดยตรงจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  และอยู่ใกล้แนวเคลื่อนที่ของมวลอากาศเย็นจากประเทศ
                   จีน  ส่งผลให้ภาคเหนือมีสภาพอากาศที่แห้งแล้งและหนาวเย็นมากกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ  โดย

                   ลักษณะฝนที่ตกในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และพายุดีเปรสชัน

                   ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม  ปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยประมาณ  1,100-1,700 มิลลิเมตรต่อปี  ท าให้
                   ภาคเหนือมีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชได้หลากหลาย  ทั้งพืชผัก  ไม้ผลเขตร้อนและพืชเมืองหนาว

                   ตามความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศภายในพื้นที่
                          ภาคเหนือมีฤดูกาล 3 ฤดู ดังนี้

                          2.4.1 ฤดูร้อน    เริ่มต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม

                          2.4.2 ฤดูฝน      เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
                          2.4.3 ฤดูหนาว   เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

                               ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจาก
                   ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยทั่วไปในฤดูนี้แม้ว่าอากาศจะร้อนและ

                   แห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ท า

                   ให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย ท าให้เกิด
                   พายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายได้   พายุฝนฟ้า

                   คะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พายุฤดูร้อน นับเป็นช่วงที่ภาคเหนือมีอากาศร้อนที่สุด

                   จนเริ่มเข้ากลางเดือนพฤษภาคม ฝนจึงเริ่มตกเล็กน้อยอุณหภูมิจึงเริ่มลดลง
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19