Page 16 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 16
8
2.4 ทรัพยากรดิน
สภาพโดยทั่วไปของภาคเหนือเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบระหว่างหุบเขาหรือที่ราบบริเวณ
สองฝั่งแม่น้ าสายใหญ่ ลักษณะดินที่พบส่วนใหญ่จึงเป็นดินที่มีพัฒนาการไม่มากนัก ในดินยังคงมีธาตุ
อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช อยู่ในระดับที่ไม่ต่ าจนเกินไป ดินในบริเวณที่ราบหรือค่อนข้างราบเป็น
ดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง แต่ข้อจ ากัดของพื้นที่ภาคเหนือที่ส าคัญคือ
เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีพื้นที่ภูเขา และเทือกเขาต่างๆ ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป
ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้จัดว่ามีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูง ไม่เหมาะสม
ส าหรับท าการเกษตร นอกจากนี้พื้นที่ที่มีความลาดชันค่อนข้างสูงยังท าให้เกิดดินประเภทต่างๆ เป็น
จ านวนมาก โดยส่วนใหญ่ที่พบตามแถบภูเขา ที่สูง จะเป็นดินที่ผุพังจากหินประเภทต่างๆ ส่วนใน
บริเวณหุบเขาหรือแอ่งแผ่นดินจะมีทรัพยากรดินที่สมบูรณ์กว่าเพราะน้ าจะพาตะกอนไหลเข้ามาทับถม
กันท าให้เนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นๆ ความเหมาะสมของการใช้ทรัพยากรดินใน
พื้นที่ภาคเหนือที่เป็นภูเขาจะมีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่เท่านั้น ส่วนใหญ่
จะอยู่บริเวณที่ราบตามชายฝั่งแม่น้ าสายใหญ่ มีดินตะกอนน้ าพาที่ใช้เพาะปลูกได้ดี อย่างไรก็ตาม
ลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันนี้อาจแบ่งกลุ่มของดิน ได้ดังนี้
2.4.1 ดินในบริเวณที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงพบตามบริเวณพื้นที่ราบเรียบตามฝั่งแม่น้ าสายใหญ่ที่
ไหลลงสู่ที่ราบและไหลคดเคี้ยวไปมาท าให้เกิดล าน้ าแยกหลายสาย แล้วไหลไปรวมประสานกันใหม่มัก
ทิ้งร่องรอยของล าน้ าเก่าให้เห็น ที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงนี้ประกอบด้วยแอ่งหรือมาบล าน้ า และอาจมีสัน
หรือคันดินริมน้ าเป็นแนวยาว ตลอดฝั่งน้ า ซึ่งมีพื้นที่เป็นลูกคลื่นและอยู่สูงกว่าระดับน้ าในแม่น้ า ดินที่
พบในบริเวณดังกล่าวคือ กลุ่มดินตะกอนล าน้ าหรือดินตะกอนน้ าพา (Alluvial soils) เป็นดินตะกอน
น้ าพามาสะสมไว้ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงและยังมีอายุน้อย ชั้นของดินยังไม่ชัดเจนมีทั้งดินที่มีการ
ระบายน้ าค่อนข้างดีซึ่งเกิดในบริเวณสันดินริมน้ า เป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ าตาล ใช้ประโยชน์เป็นที่
สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยและปลูกพืชสวนครัวได้ ส่วนดินที่มีการระบายน้ าไม่ดี มีน้ าแช่ขังจะอยู่ตาม
มาบล้ าน้ า มีพื้นที่ราบเรียบและมีระดับต่ ากว่า พวกแรก เป็นดินตะกอนเนื้อละเอียดมากมีสีเทา ใช้
ประโยชน์ในการท านาได้ดี
2.4.2 ดินในบริเวณลานตะพักน้ า ตะพักล าน้ าอาจมีระดับต่าง ๆ กันที่เรียกว่า ตะพักระดับ
ต่ า ตะพักระดับกลาง และตะพักระดับสูง ดินบนตะพักนี้เป็นดินตะกอน ที่มีอายุมาก ส่วนใหญ่เป็นดิน
ที่แบ่งชั้นชัดเจน เป็นดินร่วนค่อนข้างละเอียด มีสีน้ าตาลจนถึงน้ าตาลปนแดง ถ้าเป็นดินตะพักล าน้ า
ระดับต่ า มีการระบายน้ าไม่ดีก็ใช้ท านาได้และอาจใช้ปลูกพืชไร่ในฤดูแล้งได้ ถ้ามีน้ าจากการ
ชลประทานเพียงพอ ส่วนดินตะพักน้ าบริเวณสันริมน้ าเก่า มีความอุดมสมบูรณ์ถึงดีปานกลาง
เหมาะสมในการ ปลูกพืชสวนและพืชไร่ แต่ไม่ค่อยพบในบริเวณกว้างขวางมากนัก ดินที่พบในตะพัก
ล าน้ าสูงขึ้นไป อยู่ในพื้นที่ระดับแตกต่างกันตั้งแต่ลักษณะเป็นลูกคลื่นจนถึงที่แบบภูเขา แต่ยังเป็นดินที่
มีการระบายน้ าได้ มีดินเกรย์พอดโซลิกสีเทา (Grey Pordzolic soils) สูงขึ้นไปเป็นดินเรดเยลโล่พอด