Page 9 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 9

บทที่ 1

                                                            บทนำ


                     1.1  หลักการและเหตุผล

                           น้ำท่วมหรืออุทกภัย เป็นภัยที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อประเทศอย่างมากไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ
                     โดยรวมของประเทศชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยเฉพาะกับภาคการเกษตรซึ่งได้รับความเสียหาย

                     เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พบว่า เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในทุกภาคของประเทศ
                                   ิ่
                     และมีแนวโน้มเพมมากขึ้นตามสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
                     โดยไม่คำนึงถึงสมดุลทางระบบนิเวศทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม โดยมีโอกาส
                                                                            ื้
                     เกิดขึ้นได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมกราคม และบางพนที่อาจประสบเหตุการณ์ดังกล่าว
                     มากกว่า 1 ครั้งในรอบปี

                           ลักษณะของการเกิดน้ำท่วม มีความรุนแรง และมีรูปแบบต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ
                     และสภาพพ้นที่โดยการเกิดน้ำท่วมแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ น้ำป่าไหลหลากหรือ
                                ื
                     น้ำท่วมฉับพลัน มักเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้เชิงภูเขา เนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขา
                                                                                            ื้
                     ต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยปริมาณน้ำจำนวนมากเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วจากที่สูงลงสู่พนที่ต่ำก่อให้เกิด
                     ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ หากบริเวณดังกล่าว
                     เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ส่วนลักษณะที่สอง ได้แก น้ำท่วมหรือน้ำท่วมขง เป็นลักษณะของอทกภัย
                                                                                                    ุ
                                                                                    ั
                                                                  ่
                     ที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ไหลบ่าในแนวระนาบจากที่สูงไปยังที่ต่ำ หรือปริมาณจำนวนมาก
                     ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องที่ไหลลงสู่ลำน้ำหรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่างหรือ
                                                     ่
                     ออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำเออล้นตลิ่งเข้าท่วมที่อยู่อาศัย และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย
                     ถนน หรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดหรือเป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝน
                     ตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ

                                               ื้
                     หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพนที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล โดยระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับระยะเวลา และ
                     ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมแช่ขัง

                           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีความเสี่ยงสูงน้ำท่วมซ้ำซากในบริเวณริมฝั่งเขตลุ่มน้ำมูล
                     โดยการระบายน้ำในภาคนี้จะมีทิศทางการไหลจากซ้ายไปขวาออกสู่แม่น้ำโขง ทำให้ความรุนแรงของ
                     อทกภัยขึ้นอยู่กับระดับน้ำในแม่น้ำโขง โดยหากระดับน้ำสูงจะสามารถระบายน้ำได้ช้า ความเสียหายจะ
                      ุ
                     รุนแรงและยาวนานกว่ากรณที่ระดับน้ำต่ำ ซึ่งในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                            ี
                     ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นบ่อยครั้ง และทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี
                     ดังนั้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลการสำรวจระยะไกล การใช้แบบจำลอง
                     ข้อมูลทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการจัดทำฐานข้อมูลและปรับปรุงแผนที่น้ำท่วมซ้ำซาก ให้มีความทันสมัย

                     เป็นปัจจุบัน และมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพอให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
                                                        ื่
                     การเตรียมการป้องกันและเตือนภัย การวางแผนการเพาะปลูกก่อนการทำการเกษตรซึ่งจะช่วยในการป้องกัน
                     และบรรเทาความเสียหายจากอทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไป
                                             ุ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14