Page 61 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 61

53





                   4.3   แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่แล้งซ้ำซาก

                          แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรบริเวณที่มีปัญหาแล้งซ้ำซาก เป็นแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการ

                   ลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ดังนี้

                          4.3.1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี ควรแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่งดหรือลดการ

                   เพาะปลูก เป็นการลดความล่อแหลม หรือสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยงภัยแล้ง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทำ
                   การเกษตรนอกเขตชลประทาน ดังนั้นกรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชที่เป็นพืชอายุปีเดียว เช่น ข้าว ข้าวโพด

                   ถ้าไม่มีแหล่งน้ำสำรองควรงดการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ส่วนพืชที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี ควรมีการเพิ่ม

                   อินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ รวมถึงสร้างการรับรู้แก่
                   เกษตรกรในเรื่องของภัยแล้ง เป็นการเพิ่มศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการรับมือกับภัยแล้ง เช่น ให้ทราบ

                   ถึงพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งก่อนทำการเพาะปลูกในฤดูถัดไป มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงที่
                   เกิดสภาวะแห้งแล้ง

                          4.3.2 พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี ไม่ควรใช้ที่ดินในการทำการเกษตรแบบพืชเดิม ควร

                   ปรับเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่นหรือการผลิตในรูปแบบหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่มากกว่า เช่น
                   ปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวไปเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่เหมาะสม ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และตลาด

                   ร่วมกับการก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ช่วงในฤดูแล้ง เพื่อการอุปโภค และ
                   บริโภคได้อีกทาง

                           4.3.3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี ควรแนะนำให้เกษตรกรจัดการพื้นที่ ดังนี้

                                1) พื้นที่พืชไร่และพื้นที่นาข้าวที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากไม่ เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี อาจไม่มี
                   ความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ชนิดพืช แต่ปัญหาของพื้นที่เหล่านี้คือการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น

                   เกษตรกรสามารถทำการปลูกข้าวได้ต่อไป หรืออาจปรับเปลี่ยนการผลิตมาทำเกษตรผสมผสาน แต่ควรมี การ

                   เพิ่มเติมด้วยการปลูกพืชหลังนา ได้แก่ การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น พืชตระกูลถั่ว ปอเทือง ถั่วพร้า เพื่อปรับปรุง
                   คุณภาพดิน และเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อขาย เป็นการสร้างรายได้กับเกษตรกร ส่วนการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่ม

                   รายได้อีกทางหนึ่ง จึงควรมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ มีการก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น

                   การเลือกปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วเขียว และถั่วเหลือง
                                2) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น สามารถเลือกปรับระบบการปลูกพืชตามศักยภาพและปริมาณน้ำที่

                   มีในพื้นที่ได้ ซึ่งพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทนต่อสภาพแล้งได้ โดยเลือกชนิดพันธุ์พืชและช่วงเวลาปลูกที่
                   เหมาะสม เกษตรกรอาจเลือกปลูกพืชอาหารสัตว์ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัวเพิ่มขึ้น

                            ปัญหาภัยแล้ง เป็นปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดภัยแล้งบ่อยครั้งและ
                   รุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อแก้ไขและรองรับปัจจัยเสี่ยงของภาคการเกษตร
                   ควรนำแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจ (Zoning) ในการดำเนินงานของกรมพัฒนาที่ดิน
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66