Page 15 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 15

7





                                                           บทที่  2

                                                         ข้อมูลทั่วไป



                   2.1  ที่ตั้งและอาณาเขต

                         จังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทยประมาณละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดา เหนือ
                   ลองจิจูด 102 องศา 02 ลิปดา มีเนื้อที่ประมาณ 4,496,961 ไร่ บริเวณทิศตะวันออกและทิศใต้ของจังหวัด

                   เป็นที่ราบสูงคล้ายกับพื้นที่ราบสูงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สภาพพื้นที่ดังกล่าว
                   เหมาะต่อการปลูกพืชไร่ ยกเว้นบริเวณรอยตะเข็บติดต่อกับประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นบริเวณป่าทึบมีเทือกเขา

                   กั้นพรมแดน และพื้นที่ในเขตอำเภอวัฒนานคร ซึ่งมีลักษณะเป็นสันกั้นน้ำโดยทางทิศตะวันตก น้ำจะไหล

                   ลงสู่อำเภอเมืองสระแก้ว ส่วนทางด้านทิศตะวันออกน้ำจะไหลลงสู่อำเภออรัญประเทศ การปกครองของ
                   จังหวัดสระแก้ว ราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว อำเภอคลองหาด

                   อำเภอตาพระยา อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอวัฒนานคร อำเภออรัญประเทศ อำเภอเขาฉกรรจ์ อำเภอโคกสูง
                   และอำเภอวังสมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทิศตะวันออก ติดกับ

                   ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร ใน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภออรัญประเทศ

                   คลองหาด ตาพระยา และโคกสูง ดังนั้น ทำเลที่ตั้งของจังหวัดสระแก้ว จึงมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่
                   เหมาะสมในการเป็นประตูสู่ภูมิภาคอื่น ของประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการเป็นประตูสู่อีสาน

                   และประตูสู่อินโดจีน โดยมีจุดผ่านแดนที่สำคัญ 4 จุด คือ จุดผ่านแดนถาวร 1 แห่ง และจุดผ่อนปรน

                   การค้า 3 แห่ง รวมทั้ง มีตลาดโรงเกลือหรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ และประเทศ
                   กัมพูชา ซึ่งเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้ามือสองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค สามารถสร้างรายได้ให้กับ ประเทศปีละ

                   หลายพันล้านบาท ทำเลที่ตั้งของจังหวัดสระแก้วมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการเป็นประตูสู่
                   ภูมิภาคอื่นของประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการเป็นประตูสู่อีสาน และประตูสู่อินโดจีน มีอาณา

                   เขตติดต่อกับบริเวณต่าง ๆ ดังนี้ (กรมการปกครอง, 2561) (ภาพที่ 2)

                         ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครราชสีมา
                         ทิศตะวันออก ติดกับประเทศกัมพูชา

                         ทิศใต้ ติดกับจังหวัดจันทบุรี
                         ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20