Page 11 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 11

3





                              2) ระยะทางจากแหล่งน้ำผิวดิน จะเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำผิวดิน เช่น
                   แม่น้ำ ลำคลอง หากฝนไม่ตกต่อเนื่องเป็นเวลานานปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง พื้นที่นั้นอาจขาดน้ำเพื่อ

                   การเกษตรได้

                              3) ความลาดชันของพื้นที่ มีผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่ของน้ำบนผิวดิน และใต้พื้นดิน
                   ตามหลักการไหลของน้ำ พื้นที่มีความลาดชันมาก เช่น พื้นที่สูงและที่ดอน น้ำจะไหลบ่าออกจากพื้นที่ได้

                   เร็วกว่าพื้นที่มีความลาดชันน้อยหรือพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสเกิดสภาวะแล้งซ้ำซากมากกว่าพื้นที่
                   ราบลุ่ม

                              4)  สภาพการใช้ที่ดิน  เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสภาวะแล้งซ้ำซากของพื้นที่กล่าวคือ

                   การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของดินนั้น  ๆ  อาจก่อให้เกิดสภาวะแล้งซ้ำซากในพื้นที่  ได้แก่  สภาพ
                   การใช้ที่ดินเป็นพื้นที่นา  แต่เกษตรกรใช้พื้นที่นั้นปลูกยางพารา  ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับการปลูก

                   ยางพารา อาจส่งผลให้ผลผลิตที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
                              5) ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน เป็นตัวชี้วัดระดับความสามารถในการเก็บกักน้ำไว้

                   ใช้ได้ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพพื้นฐานของดินนั้น ๆ ได้แก่ เนื้อดิน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติการ

                   ระบายน้ำของกลุ่มชุดดิน ซึ่งพิจารณาจาก คุณสมบัติของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินแต่ละชนิด
                   ซึ่งมีผลต่อความชื้นในดิน และความเป็นประโยชน์ต่อการใช้น้ำของพืช

                              6) อุณหภูมิพื้นผิวที่มีผลต่อพื้นที่เพาะปลูก เป็นข้อมูลภาพดาวเทียม Terra ระบบ Modis ซึ่ง

                   อุณหภูมิพื้นผิวบริเวณที่มีพืชพรรณปกคลุมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่าศักย์การคายระเหยของพืช (Potential
                   Evapotranspiration : PET) และมีความสัมพันธ์โดยอ้อมกับปริมาณความชื้นในดินบริเวณรากพืช

                              7) ความถี่ของการเกิดสภาวะแห้งแล้ง พื้นที่ที่เกิดสภาวะแห้งแล้งในอดีต 10 ปีย้อนหลัง

                   (ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - 2560) เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบถึงพื้นที่ที่เคยเกิดความแห้งแล้ง สถิติที่เกิดว่าพื้นที่ใดเกิด
                   ซ้ำที่รุนแรง มีผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหาย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ

                          1.4.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) สามารถสรุปในแต่ละขั้นตอนได้ดังนี้
                              1)  การคัดเลือกปัจจัย  โดยพิจารณาจากปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้อง  เช่น  สภาพการใช้

                   ประโยชน์ที่ดิน จะพิจารณาจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางกายภาพ ได้แก่ ความลาดชัน การระบายน้ำ

                   และปัจจัยด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น
                              2)  การเตรียมข้อมูลเชิงพื้นที่  เป็นข้อมูลปัจจัยต่าง  ๆ  ในรูปแบบแผนที่ที่มีรายละเอียดและ

                   มาตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งควรเป็นข้อมูลที่มาตราส่วนเดียวกัน พร้อมทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลเพื่อ
                   ความถูกต้องก่อนนำไปประยุกต์ใช้

                               3) การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  เป็นการจัดการข้อมูลให้อยู่ใน

                   รูปแบบโครงสร้างแบบราสเตอร์หรือเวคเตอร์ตามต้องการ
                               4)  แปลงข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ข้อมูลอัตราการระเหย

                   ของน้ำ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกสถานีตรวจวัดอากาศทั่วประเทศ ของกรมอุตุนิยมวิทยา ให้อยู่ในรูป
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16