Page 10 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 10

2





                   1.2  วัตถุประสงค์
                         1.2.1 เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์   และข้อมูลสำรวจระยะไกลในการปรับปรุง

                   ขอบเขตพื้นที่ประสบสภาวะแล้งซ้ำซาก จังหวัดสระแก้ว

                         1.2.2 เพื่อเสนอแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่แล้งซ้ำซาก จังหวัดสระแก้ว


                   1.3   ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ
                           1.3.1 ระยะเวลา              เริ่มต้นเดือนตุลาคม   พ.ศ.  ๒๕๖๐

                                                       สิ้นสุดเดือน กันยายน   พ.ศ. ๒๕๖๑

                           1.3.2 สถานที่ดำเนินการ    จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ อำเภอเมืองสระแก้ว เขาฉกรรจ์ คลองหาด โคกสูง
                   ตาพระยา วังน้ำเย็น วังสมบูรณ์ วัฒนานคร และอรัญประเทศ


                   1.4  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

                         1.4.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน

                                 1) แผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วน 1: 50,000  กรมแผนที่ทหาร พ.ศ. 2556
                               2)  สภาพภูมิอากาศ ข้อมูลปริมาณฝนเฉลี่ย 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 – 2560 กรม

                   อุตุนิยมวิทยา

                               3)  อุทกวิทยา ได้แก่ ข้อมูลแหล่งน้ำผิวดิน กรมพัฒนาที่ดิน พ.ศ. 2550 - 2560
                               4)  แผนที่ข้อมูลกลุ่มชุดดิน พ.ศ. 2556 มาตราส่วน 1: 25,000  กรมพัฒนาที่ดิน

                               5)  แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2559 มาตราส่วน 1 : 25,000  กรมพัฒนาที่ดิน

                               6)  แผนที่พื้นที่ชลประทาน พ.ศ. 2557 มาตราส่วน 1 : 50,000  กรมชลประทาน
                               7)  แผนที่ข้อมูลขอบเขตการปกครอง พ.ศ. 2556  มาตราส่วน 1: 50,000  กรมการปกครอง

                               8)  ภาพถ่ายดาวเทียม Terra ระบบ Modis (Land Surface Temperature : resolution 1 km.)
                   ที่อยู่ในรูปเชิงเลข ถ่ายครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยทุก 8 วัน ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2550 – ธันวาคม พ.ศ. 2560

                   จาก United State for Geology Survey (USGS)

                               9) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ArcView GIS 3.3 และArcGIS 10.4.1 เพื่อนำเข้าและจัดเก็บ
                   ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                         1.4.2 ปัจจัยที่ใช้การศึกษาวิเคราะห์ครั้งนี้
                              ปัจจัยที่มีความสำคัญ  และสอดคล้องต่อการวิเคราะห์พื้นที่ประสบสภาวะแล้งซ้ำซาก ได้แก่

                              1) ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำ

                   ในพื้นที่ พื้นที่ที่มีฝนตกน้อยจะเป็นพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดสภาวะแล้งซ้ำซากมาก ดังนั้นปริมาณน้ำฝนจึงเป็น
                   ตัวแปรตรงที่สำคัญในการพิจารณา
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15