Page 9 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 9

1





                                                           บทที่ 1
                                                            บทนำ



                   1.1  หลักการและเหตุผล

                         ภัยธรรมชาติที่เป็นปรากฏการณ์รุนแรงมีผลกระทบเป็นอย่างมากกับมนุษย์ คือ ภัยแล้ง ซึ่ง

                   ปรากฏการณ์นี้ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยปัญหาในปัจจุบันที่พบคือ การขาดแคลน
                   น้ำเพื่อการอุปโภคและทำการเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากภัยแล้งจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว ยัง

                   อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้เกิดความเสีย

                   สมดุลด้านระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำและยังมี
                   ผลกระทบทางอ้อมกับปริมาณน้ำฝน ประกอบกับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมของ

                   โลก (Climate Change) ที่มีความแปรปรวนและมีความซับซ้อนส่งผลให้ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino)

                   มีความรุนแรงมากขึ้นทำให้ประเทศไทยประสบกับภัยแล้ง โดยเฉพาะประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่เป็น
                   เกษตรกร ซึ่งการทำการเกษตรในปัจจุบันต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก เมื่อพื้นที่ในการทำการเกษตร ได้รับ

                   ผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรง เช่น ดินขาดความชื้น พืชขาดน้ำ พืชหยุดการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มี
                   คุณภาพต่ำ รวมถึงผลผลิตที่ได้ลดลงด้วย ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้ง

                   ช่วงเป็นเวลานาน สาเหตุเหล่านี้เมื่อเกิดร่วมกับการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วยแล้ว ยิ่ง

                   ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้น
                         ปัจจุบันจังหวัดสระแก้ว  เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง  โดยนับวันจะทวีความ

                   รุนแรงและขยายขอบเขตมากขึ้น  ทั้งที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีค่อนข้างสูงซึ่งอยู่ระหว่าง  1,400-1,600
                   มิลลิเมตรต่อปี โดยภัยแล้งส่วนใหญ่เป็นภัยแล้งที่เกิดจากขาดฝนหรือ ฝนแล้งเป็นเวลานาน เนื่องจากมีการ

                   กระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ  สภาพพื้นดินมีเนื้อดินเป็นดินทราย  ทำให้ความสามารถ  ในการอุ้มน้ำต่ำ

                   ปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้อยู่ในเกณฑ์ต่ำ สภาพการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่ และพื้นที่การเกษตรอื่น ๆ
                   ที่อาศัยน้ำฝนเกือบทั้งหมด  ทำให้พื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม  ซึ่งสร้างความเสียหายต่อ

                   พื้นที่เกษตรกรรมเป็นประจำทุกปี

                         ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่แล้งซ้ำซากจังหวัด
                   สระแก้ว โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดแล้งซ้ำซาก ได้แก่ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี พื้นที่ในเขต

                   ชลประทานและนอกเขตชลประทาน ระยะทางจากแหล่งน้ำผิวดิน สภาพการใช้ที่ดิน ความลาดเทของพื้นที่

                   ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน ความถี่ของการเกิดสภาวะแห้งแล้ง และอุณหภูมิพื้นผิวที่มีผลต่อพื้นที่เพาะปลูก
                   เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่แล้งซ้ำซาก ซึ่งจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรง และจำนวนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิด

                   แล้งซ้ำซาก ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14