Page 7 - Management_agricultural_drought_2561
P. 7

บทที่ 1

                                                          บทนํา

               1.1  หลักการและเหตุผล

                        ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เปนปรากฏการณปกติของธรรมชาติไมวาจะเปนเหตุการณ แผนดินไหว ดิน
               ถลม น้ําทวม ไซโคลนหรือใตฝุน เหตุการณเหลานี้เมื่อเกิดขึ้นจะสรางความเสียหาย และความสูญเสียทั้งแก
               ทรัพยสินและชีวิตมนุษยเปนจํานวนมาก มนุษยไมอาจหยุดยั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติได แตมนุษยสามารถที่จะ

               ทําความเขาใจและอยูรวมกับภัยตางๆ นี้ไดดวยการ ปองกัน บรรเทาและเตรียมการรองรับสถานการณตางๆ ที่
               อาจเกิดขึ้นไดทุกเวลา
                        ปจจุบันประเทศไทยประสบปญหาภัยพิบัติดานการเกษตรอันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติในหลาย
               รูปแบบ  โดยที่สําคัญไดแก  อุทกภัย  วาตภัย  ดินโคลนถลม  โดยเฉพาะภัยจากพายุหมุนเขตรอนซึ่งทําใหเกิด
               ความเสียหายที่รุนแรงและเปนบริเวณกวาง  รวมถึงปญหาภัยแลง  ฝนทิ้งชวง  และการระบาดของโรค  แมลง

               ศัตรูพืช โรคระบาดสัตวและสัตวน้ํา
                        ภัยแลงเปนปรากฏการณธรรมชาติที่มีความซับซอน มีการกอตัวอยางชาๆ ไมอาจรูลวงหนา หรือกวา
               จะรูก็เมื่อสถานการณลุกลามแลว และเปนปญหาที่เกิดขึ้นอยูเปนประจําทุก ๆ ป  นับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่ม

               มากขึ้น สรางความเสียหายและเปนอุปสรรคตอการพัฒนาประเทศ พื้นที่ที่ประสบภัยแลงจะมีปญหาการขาด
               แคลนน้ําสําหรับอุปโภคบริโภคและทําการเกษตร กอปรกับการทําการเกษตรในประเทศไทยสวนใหญอาศัย
               น้ําฝนจากธรรมชาติเปนหลัก ดังนั้นเมื่อปริมาณน้ําไมเพียงพอทําใหผลผลิตจากการเพาะปลูกลดลง เกิดความ
               ขาดแคลนสินคาเกษตรและผลิตภัณฑแปรรูปสงผลตอเศรษฐกิจ และกอใหเกิดการละทิ้งถิ่นฐานไปทํางานในเมือง

                        ภัยแลงในแตละปไดสรางความเสียหายจํานวนมาก จากสถิติความเสียหายที่สํารวจพบจาก
               สถานการณภัยแลงของประเทศไทยในชวง พ.ศ. 2532  –  2560 ของกรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย
               พบวา มูลคาความเสียหายที่เกิดจากภัยแลง มีมูลคาความเสียหายรวมทั้งสิ้น 19,041.94 ลานบาท  พ.ศ. 2548
               เปนปที่มีมูลคาความเสียหายมากที่สุด คือ 7,565.86 ลานบาท

                        ภาคการเกษตรในชวง พ.ศ. 2532 – 2560 พบวาพื้นที่การเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร ไดรับ
               ความเสียหายจากภัยแลงเฉลี่ย 2,571,567 ไร โดย พ.ศ.2537 พื้นที่การเกษตรไดรับความเสียหายจากภัยแลง
               มากที่สุด โดยไดรับความเสียหายถึง 17,923,817 ไร (กรมปองกันและบรรเทาสาธารณภัย, 2560)
                        จากสถานการณดังกลาวแลวจึงมีความจําเปนอยางยิ่งที่จะตองมีการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรเสี่ยง

               ตอการเกิดภัยแลงทั้งดานการปองกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพรอม และการพัฒนาพื้นที่

               1.2  วัตถุประสงค
                        เพื่อเปนแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ทําการเกษตรเสี่ยงตอการเกิดภัยแลง ทั้งดานการปองกันและ
               ลดผลกระทบ การเตรียมความพรอม และการพัฒนาพื้นที่

               1.3  ระยะเวลาและสถานที่ดําเนินการ

                        3.1  ระยะเวลาดําเนินการ                   เริ่มตนเดือนตุลาคม   พ.ศ. 2560
                                                                  สิ้นสุดเดือนกันยายน   พ.ศ. 2561
                        3.2  พื้นที่ดําเนินการ                    77 จังหวัด
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12